แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่รับผิดชอบโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่ สำนักงานชลประทานที่ 6
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.107คำสำคัญ:
แนวทางการบริหารจัดการ;, ทรัพยากรน้ำ; , โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่บทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกของมนุษย์ในช่วงเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมามีการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้ความต้องการใช้น้ำของมนุษย์เพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็นทวีคูณ,โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตรและการพลังงาน อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการน้ำของไทยยังมีช่องโหว่ ขาดเอกภาพและขาดกติกาที่ชัดเจนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำ ส่วนใหญ่ยังอยู่ภายใต้ระบบการเข้าถึงโดยเสรีเป็นระบบที่ขาดความเป็นธรรม,ไม่สนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด,และไม่เอื้ออำนวยให้มีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (2) เพื่อสร้างแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และ (3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยการเปรียบเทียบก่อนการพัฒนากับสภาพที่เกิดขึ้นหลังการดำเนินการ การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่,สำนักงานชลประทานที่ 6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย การวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมใช้การการสนทนากลุ่ม จัดเวทีระดมสมองในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป้าหมายได้แก่ นักวิชาการ จำนวน 5 คน ภาคราชการจำนวน 12 คน และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ให้บริการน้ำโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่สำนักงานชลประทานที่ 6 จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 26 คน จากนั้นนำผลจากการเสวนากลุ่มและระดมสมองมาสร้างเป็นแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำต่อจากนั้นทำการประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ,และนำไปทดลองใช้กับเกษตรกร จำนวน 30 คน ที่ใช้น้ำในพื้นที่รับผิดชอบของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของการทดลองใช้รูปแบบเป็นแบบสอบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพบว่าโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ การประกอบอาชีพ ความพึงพอใจ การมีส่วนร่วม การใช้น้ำ และ การบริหารจัดการน้ำตามลำดับ (2) แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พบว่า ทั้ง 10 กิจกรรมมีความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติจริงประกอบด้วย ความรู้เรื่องกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน การปลูกพืชใช้น้ำน้อย เกษตรทฤษฎีใหม่ การเลี้ยงปลาหมอเทศ ปลานิล กุ้ง การมีส่วนร่วมในงานชลประทาน การสร้างจิตอาสาร่วมด้วยช่วยกัน การสร้างแรงจูงใจ ประชาสัมพันธ์การใช้น้ำอย่างคุ้มค่า การบริหารจัดการน้ำในลำเสียวใหญ่ และแผนการพัฒนาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีความเหมาะสม (3) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนก่อนและการทดลองใช้แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยมีค่าคะแนนหลังการดำเนินงานสูงกว่าก่อนการดำเนินงาน แสดงว่าหลังการใช้แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทำให้การบริหารจัดการ การมีส่วนร่วม การประกอบอาชีพ การใช้น้ำ และ ความพึงพอใจดีขึ้นซึ่งเป็นไปตามที่ตั้งไว้
References
กชกร เดชะคำภู (2560). รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกลุ่มผู้ใช้น้ำ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทัศนา ทองภักดี. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของนักเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบุคลิกภาพ ค่านิยมในอาชีพกับการเลือกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บริษัท ทีมคอนซัลติ้ง เอนจิเนียริง แอนด์ แมแนจเมนท์ จำกัด บริษัท แอ็กกี้คอนซัลท์ จำกัด บริษัทแอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด. (2549). งานศึกษาความเหมาะสม โครงการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำเสียวใหญ่. บริษัท ทีมคอนซัลติ้ง เอนจิเนียริง แอนด์ แมแนจเมนท์ จำกัด บริษัท แอ็กกี้คอนซัลท์ จำกัด บริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
สมเกียรติ เสือแก้ว (2555). การศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ลำนางรอง. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สมบัติ มีลักษณะสม (2562). กลยุทธการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากน้ำช่วงเขตพื้นที่โครงการชลประทาน จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาภูมิภาค) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). พัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
อดิศวร ศรีเมืองบุญ และประสิทธิ์ ประคองศรี. (2553). สภาพการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่มีประสิทธิภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กรณีศึกษา: อบต.ท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ.
อรุณกมล สุขเอนก. (2562). กลยุทธการบริหารจัดการของธนาคารพาณิชย์เอกชนสู่การเป็นองค์การสมรรถสูง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ: มหาวิทยาลัยศิลปากร
PPTV Online. (2023). 22 March "World Water Day" an important part of human life. Retrieved from: https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/192953
Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. 3rd edition. New York: Harper & Row.
Cook, T. D., & Campbell, D. T. (1979). Quasi- experimentation: Design and analysis issues for field settings. Chicago: Rand-McNally.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ธีรพงษ์ เจริญผ่อง

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ