ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้ในการสอบออนไลน์และคะแนนสอบรายวิชา MER 2003 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและวิจัยทางการศึกษา
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.13คำสำคัญ:
เวลาที่ใช้ในการสอบออนไลน์; , คะแนนสอบบทคัดย่อ
ระยะเวลาสำหรับการสอบที่เพียงพอต่อการคิดวิเคราะห์และคิดทบทวนการตอบข้อสอบในแต่ละข้อจะส่งผลถึงคะแนนสอบที่ได้ตามระดับความสามารถของนักศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้ในการสอบออนไลน์และคะแนนสอบ รายวิชา MER 2003 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและวิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยทำการศึกษากับตัวอย่างนักศึกษาที่ลงทะเบียนและเข้าสอบรายวิชา MER 2003 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและวิจัยทางการศึกษา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 130 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบปลายในภาครูปแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างเวลาที่ใช้ในการสอบออนไลน์และคะแนนสอบ ผลการวิจัยพบว่า เวลาที่ใช้ในการสอบออนไลน์กับคะแนนสอบมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.546, p=.000)
References
จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ. (2563). การประเมินผลการเรียนวิชาภาษาไทย MER 3204. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุวิทย์ กิระวิทยา และ วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้ในการสอบกับคะแนนสอบในวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้า. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 117-123.
อภิชาติ รอดนิยม. (2564). เทคโนโลยีการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(9), 123-133.
Bartz, A.E. (1999). Basics Statistical Concepts. 4th ed. New Jersey: Prentice Hall.
Hirose, H. (2019). Relationship between Testing Time and Score in CBT. International Journal of Learning Technologies and Learning Environments, 2(1), 35-52.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Le, T. T. K. (2022). An Investigation into Online Assessment Method from Students’ Perspectives. In Proceedings of the 4th International Conference on Modern Educational Technology (ICMET '22) (pp. 91–97).
Scheerens, J., Glas, C. A. W., & Thomas, S. M. (2007). Educational Evaluation, Assessment, and Monitoring: A Systemic Approach. New York: Taylor & Francis.
Woit, D., & Mason, D. (2003). Effectiveness of online assessment. In Proceedings of the 34th SIGCSE technical symposium on Computer science education (pp. 137-141).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Roongporn Klyprayong

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ