ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • กัณฐาภรณ์ วุฒิงาม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0002-0241-5918
  • สามารถ อัยกร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0003-3715-7282
  • ชาติชัย อุดมกิจมงคล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0001-6345-8455

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.9

คำสำคัญ:

ปัจจัยการบริหาร;, ประสิทธิผลการดำเนินงาน; , ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ

บทคัดย่อ

“ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย” ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2537 กระทรวงมหาดไทยมีนโยบายการปรับบทบาทการทำงานของศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทยให้เป็นไปในเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ จึงทำให้ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย มีบทบาทในการอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างจริงจัง มีลักษณะการทำงานที่เน้นเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ทำให้ประชาชนรับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมอย่างแพร่หลายและสามารถแจ้งขอรับความช่วยเหลือเมื่อประสบปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ได้ทุกเรื่องตลอดเวลา ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารของศูนย์ดำรงธรรมและระดับประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรม (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรม และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรม โดยการศึกษาในพื้นที่อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรม จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับปัจจัยการบริหารของศูนย์ดำรงธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 โดยผลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอิทธิพลสูงที่สุด (β = .354) รองลงมา คือ ปัจจัยการบริหารด้านภาวะผู้นำ (β = .208) ด้านวัฒนธรรมองค์กร (β = .193) ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .338 อธิบายได้ว่าปัจจัยการบริหารทำนายประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรมได้ร้อยละ 33.80 (Adjusted R2 = .338) (3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรม ได้แก่ (ก) ควรมีการนำระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการให้บริการด้านด้านการบริการและส่งต่อฐานข้อมูลต่าง ๆ (ข) ควรมีการพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียนโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการเขียนเรื่องร้องเรียนผ่านกระดาษแบบฟอร์มการร้องเรียน และควรมีการประชาสัมพันธ์อำนาจหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ และประชาสัมพันธ์ขั้นตอน วิธีการ และสิ่งที่ต้องเตรียมประกอบการร้องเรียนเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการบริการและการส่งต่อตามลำดับขั้นตอนเพื่อความสะดวกรวดเร็ว (ค) ควรส่งเสริมบุคลากรได้เข้ารับการอบรม ฝึกประสบการณ์ให้มีความชำนาญ ความเชี่ยวชาญในการให้บริการรับเรื่องร้องเรียน–ร้องทุกข์ เพื่อจะได้นำความรู้มาปฏิบัติงานให้ถูก ต้องและปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ (ง) ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ที่นั่งรอ ที่จอดรถ ห้องน้ำ น้ำดื่ม ให้เพียงพอต่อจำนวนประชาชนที่มาใช้บริการ

References

คมสรรค์ ศัตรูพ่าย. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย. วารสารบัณฑิตศึกษา. 18(81), 153-163.

โชคสุข กรกิตติชัย. (2560). ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย. เอกสารวชาการอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. Retrieved on April 5, 2022 from: http://www.parliament.go.th/library.

ปะการัง ชื่นจิตร. (2562). การประเมินขีดความสามารถขององค์การสาธารณะ: กรณีศึกษาศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14 ประจำปี 2562.

พิชิตศักดิ์ รากเงิน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 6 (2), 162-173.

ภรัณยู มายูร. (2561). บทบาทของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง. 8(1), 81-94.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2564). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. Retrieved on April 5, 2022 from: https://www.opdc.go.th/content/Nzc

สำนักงานท้องถิ่นอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. (2564). ผังโครงสร้างศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสกลนคร. สำนักงานท้องถิ่น อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร.

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2554). คู่มือการดำเนินงานแก้ไขปัญหาร้องเรียน/ร้องทุกข์. ศูนย์ดำรงธรรม สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย.

เสนาะ กลิ่นงาม. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อมรศักดิ์ กิจธนานันท์. (2558). การประเมินศูนย์ดำรงธรรมมิติใหม่ตามทัศนะเจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ และประชาชนผู้มารับบริการ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เอกรัฐ หลีเส็น. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ภารกิจศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (2561-2580) ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคมศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนราธิวาส. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60 ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2560–2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-19

How to Cite

วุฒิงาม ก., อัยกร ส., & อุดมกิจมงคล ช. (2023). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(1), 127–146. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.9