รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.172คำสำคัญ:
รูปแบบ; , ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์; , หลักอิทธิบาท 4; , ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
ผู้นำขององค์กรซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคุณลักษณะ,สมรรถนะหรือทักษะเฉพาะที่จะนำพาองค์กรให้สามารถแข่งขันกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น ผู้บริหารสถานศึกษาจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนคุณลักษณะใหม่เพื่อให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งการบริหารสถานศึกษาที่ดีควรนำหลักอิทธิบาท4มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา (2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องและกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3) เพื่อสร้างรูปแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา และ (4) เพื่อประเมินรูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 411 คน สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินการใช้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการทดสอบสหสัมพันธ์แบบลำดับที่สำหรับความสอดคล้องกันในการตัดสินใจพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 111 ตัวบ่งชี้ (2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องและกลมกลืนของโมเดลพบว่า χ2= 9.462 df = 7, χ2/df = 1.352, P-Value =0.728, CFI =0.987, TLI =0.982, RMSEA =0.005, SRMR = 0.002 และโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้าง (Construct Reliability: R2) เท่ากับ 0.754 - 0.884 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.60 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3) รูปแบบรูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ และ (4) ผลการประเมินรูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากสามารถนำไปใช้ได้
References
กิตติกาญจน์ ปฏิพนธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จิราภรณ์ ผันสว่าง. (2562). ผู้นำกับการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ Professional Education Leadership. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชณัฐ พรหมศรี, สุจิตรา จรจิตร และ วัน เดชพิชัย. (2561). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 5 (2), 201-215.
ตวงพร รุ่งเรืองศรี. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 7(1), 106-149.
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษา. เพื่อการพัฒนายั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประชุมวายุภักษ์
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี). (2550). คนสําราญงานสําเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน).
พระสมุห์พงศธร ปภงฺกโร, พระครูจิรธรรมธัช และ สมเดช นามเกตุ. (2564). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 การบริหารงานของเทศบาลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. Journal of Modern Learning Development. 6 (4), 241-254.
พิเชฐ ศรีหล้า, ชัชพงศ์ เทียมทันวณิช, วรเชษฐ์ โทอื้น และณัฐพล จินดารัมย์. (2562). กลการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐสังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดยโสธร. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus. 6 (3), 665-686.
วิทวัส นิดสูงเนิน, สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์ และมารุต พัฒผล. (2565). การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเทคโนโลยี ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัด ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5 (4), 1638-1658.
Moonsarn, B., Phoncharoen, C., Jedaman, P., & Kenaphoom, S. (2022). Regional Educational Reform in Thailand: Needs Assessment and Personnel Management 4.0 for the 21st Century. International Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews, 2(1), 31–42. https://doi.org/10.14456/jsasr.2022.4
Sricharumedhiyan, C., & Qingamo , P. S. (2022). Morality and Ethics for The Local Government Officiants. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(3), 1–12. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.22
Yu, Z., & Mhunpiew, N. (2022). A Model For Developing Student Leadership Skills in Normal Universities in Changsha, China. International Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews, 2(4), 71–88. https://doi.org/10.14456/jsasr.2022.31
Zou, X., & Merritt, M. R. (2022). Transformational Leadership and Its’ Impact on Teacher’s Creative Behaviour in Chinese Universities. International Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews, 2(6), 45–56. https://doi.org/10.14456/jsasr.2022.42
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พระครูประโชติสารนิวิฐ ลมมนตรี, สุเทพ เมยไธสง, จิราภรณ์ ผันสว่าง

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ