การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตและแนวทางการเลือกแพลตฟอร์มในการทำงานขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.34

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต; , ปัจจัยจูงใจ; , ทางการเลือกแพลตฟอร์ม;, การทำงานขนส่งอาหารเดลิเวอรี่

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการบริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ได้รับความนิยมในประเทศไทยเป็นจำนวนมากเนื่องจากสร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้ออาหารที่หลากหลายจัดส่งตรงถึงหน้าบ้านเพียงการสัมผัสหน้าจอโทรศัพท์มือถือช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หลายๆ คนถูกเลิกจ้างถูกพักงาน พร้อมกับมีผู้ประกอบการมาเข้าร่วมแพลตฟอร์มร้านอาหารออนไลน์เป็นจำนวนมาก ทำให้คนหันมาหาอาชีพใหม่ๆ เพื่อหารายได้ในช่วงโควิด-19 โดยการขับรถขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ ทำให้ผู้ขับจะต้องหาบริษัทที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้ขับรถส่งอาหารเดลิเวอรี่ในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อวิเคราะห์ผลแนวทางการเลือกแพลตฟอร์มของผู้ขับรถส่งอาหารเดลิเวอรี่ในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ขับรถขนส่งอาหารเดลิเวอรี่จังหวัดเชียงใหม่ (Food Panda, Grab Food และ Lineman) จำนวน 399 คน การวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 แบบ คือ สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า  (1) ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า (ก) ระดับความสำคัญปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในด้านความมั่นคง รองลงมาด้านความสำเร็จของงาน (ข) ระดับความพึงพอใจปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานส่วนใหญ่ ด้านความมั่นคง และด้านการยอมรับในลักษณะในการทำงาน (2) คุณภาพชีวิตในการทำงานขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ความสำคัญของปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจของปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง และ (3) การทดสอบสมมติฐานพบว่า (ก) ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อระดับความสำคัญของคุณภาพชีวิตในการเลือกแพลตฟอร์มในการทำงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ และ (ข) ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อระดับความพึงพอใจของคุณภาพชีวิตในการเลือกแพลตฟอร์มในการทำงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ และ (4) ปัญหาที่พบได้แก่ (ก) ปัญหาที่ไรเดอร์เจอจากลูกค้า คือ ไม่รับโทรศัพท์ ปักหมุดไม่ตรงกับอาหารหรือสินค้าที่จะไปส่ง ไม่บอกรายละเอียดให้ชัดเจน ทำให้ลูกค้าต้องตามหาลูกค้าทำให้เสียเวลา และลูกค้ามักฝากซื้อของที่นอกเหนือจากออเดอร์ (ข) ปัญหาที่ไรเดอร์เจอจากร้านค้า คือ รออาหารนาน เนื่องจากคิวยาว ร้านค้าไม่เตรียมวัตถุดิบไว้ ทำให้ทำอาหารนาน แอปไม่แจ้งร้านค้าทำให้เมื่อไปถึงร้าน ร้านก็ยังไม่ได้ทำสินค้า (ค) ปัญหาที่ไรเดอร์เจอจากแพลตฟอร์ม คือ ระบบขัดข้องบ่อย ค้างบ่อย ให้ค่าส่งที่ไม่เหมาะสมกับระยะทาง และกระจายงานที่ไม่ค่อยเท่าเทียมกัน ดังนั้นข้อเสนอแนะในการพัฒนาได้แก่ บริษัททั้ง 3 แพลตฟอร์มควรมีการปรับปรุงในเลือกของสัญญาณที่ดีขึ้น ควรมีการจัดระบบ ระเบียบในการเปิดร้านอาหาร คือ ถ้ารายการอาหารไหนที่หมด และไม่ได้ทำการปิดระบบ จะมีการหักเปอร์เซ็นต์ หรือ ถ้าเกิน 5 ครั้ง ร้านค้าจะโดนปิด 1-2 วัน เป็นต้น และควรมีการจัดระบบ ระเบียบของลูกค้าที่ผิดพลาดบ่อยๆ โดยการงดสั่งอาหารเป็นเวลา 1 วัน หรือ มีการหักคะแนนที่สะสมของลูกค้า เป็นต้น

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). ไรเดอร์ไลน์แมนประท้วงอย่าลดค่ารอบส่งอาหาร วอนตกงานทำอาหารประทังชีวิต. Retrieved on October 24, 2021 from: https://www.bangkokbiznews.com/news/941454.

นริศรา วิสุทธิ์ศักดา. (2553). ศึกษาคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ตำรวจภูธรจังหวัดกําแพงเพชร. สารนิพนธ์ปริญญาโท : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2557). การบัญชีเพื่อการจัดการ. นครราชสีมา : แพนด้าเลิร์นนิงบุ๊ค

ประชด ไกรเนตร และ บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา (2521). การขนส่งเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร, บำรุงนุกูลกิจ.

มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2556).การบัญชีต้นทุน, กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

วราภรณ์ สกุลรัมย์. (2555). คุณภาพชีวิตการทางานของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ศิริพร จันทศรี. (2550). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนที่มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนแตกต่างกัน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Aloui, F., et al., (2016). Optimization of oil retention in sesame-based halva using emulsifiers and fibers: an industrial assay. Journal of food science and technology, 2 0 1 6. 53(3), 1540-1550.

Best Review Asia. (2021). Income, strengths, and weaknesses of online food delivery drivers for all 3 applications. Retrieved on October 24, 2021, from: https://brandinside.asia/food-delivery.

Chong, S.S., et al., (2015). Application of multiple linear regression, central composite design, and ANFIS models in dye concentration measurement and prediction using plastic optical fiber sensor. Measurement, 2015. 74, 78-86.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Food panda. (2021). Information about Food Panda. Retrieved on October 24, 2021, from: https://www.foodpanda.co.th.

Grab food. (2021). Information about Grab Food. Retrieved on October 24, 2021, from: https://food.grab.com/th.

Herzberg, F. (1959). The Motivation of Work. New York: John Wiley & Sons.

Lineman. (2021). Information about Lineman. Retrieved on October 24, 2021, from: https://Lineman.line.me/food.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-07

How to Cite

ทัฬหพัชรกุล ก. . (2023). การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตและแนวทางการเลือกแพลตฟอร์มในการทำงานขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(1), 501–516. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.34