ศักยภาพการตลาดการค้าชายแดนไทย-เมียนมาภายหลังสถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.151คำสำคัญ:
ศักยภาพการค้า; , การตลาด; , การค้าชายแดน; , ธุรกิจระหว่างประเทศบทคัดย่อ
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการวางแนวทางการทำงานแบบบูรณาการในทุกภาคส่วนที่มุ่งเน้นการให้ความสนับสนุนและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ เพื่อเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจการค้าตามแนวชายแดน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายในการแก้ไขปัญหาความยากจนในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการณ์ ของการค้าชายแดน ไทย-เมียนมา บริเวณจุดผ่อนปรน ทั้ง 5 จุดภายหลังโควิด-19 (2) ศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนเป็นจุดผ่านแดนถาวร และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ในแต่ละจุดผ่อนปรน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) คือจากผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการและผู้ประกอบการบริเวณจุดผ่อนปรนทั้ง 5 จุด โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์มูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่าจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนที่มีสภาพการณ์เหมาะสมในการค้าขายสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ผู้ประกอบการส่วนมากมีทั้งชาวไทยใหญ่และชาวเมียนมาที่เดินทางมาค้าขายในประเทศไทย โดยเช้าไปเย็นกลับ และสามารถสื่อสารได้สองภาษา (ภาษาไทยใหญ่ ภาษาพม่า) จึงสามารถสื่อสารกันได้ดี และในปัจจุบันสภาวะทางการค้าสามารถกลับมาดำเนินงานได้ตามปกติ จากผลงานวิจัยยังพบว่าจุดผ่อนปรนที่มีความเป็นไปได้ในการผลักดันเป็นจุดผ่านแดนถาวร คือจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนบ้านห้วยต้นนุ่น อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีศักยภาพ สภาพการณ์ที่ดีและเหมาะสมที่สุด ได้แก่ มีโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่งสะดวก ผู้ประกอบการในพื้นที่มีศักยภาพสูง การศักยภาพและแนวทางในการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนนั้นพบว่ายังคงต้องมีการพัฒนาในด้านคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆในการยกระดับผู้ประกอบการในพื้นที่ทั้งได้ด้านการบริหารความเสี่ยง ความสามารถทางการแข่งขันและองค์ความรู้เกี่ยวกับการตลาด
References
กรมการค้าต่างประเทศ. (2563). เร่งผลักดันเปิดด่านชายแดน. กรมการค้าต่างประเทศ [Online]. https://www.dft.go.th/th-th/NewsList/News-DFT/Description-News-DFT/ArticleId/15537/15537 [10 ตุลาคม 2565]
กรมการค้าต่างประเทศ. (2565a). จุรินทร์ ออนทัวร์แม่ฮ่องสอน” ลุยแก้ปัญหาค้าชายแดน ไทย-เมียนมา ดันเปิดด่านห้วยต้นนุ่น เพิ่มเม็ดเงินฟื้นเศรษฐกิจ พร้อมสั่งผู้ว่ารายงานผลใน 30 วัน. เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ [Online] : https://www.dft.go.th/th-th/NewsList/News-DFT/Description-News-DFT/ArticleId/21984/21984 [10 ตุลาคม 2565]
กรมการค้าต่างประเทศ. (2565b). สถิติการค้าชายแดนผ่านแดน ปี 2565 (ม.ค.-ก.ย.) [Online]. https://www.dft.go.th/bts/trade-statistics/cid/154/-4 [10 ตุลาคม 2565]
จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2565). การค้าชายแดน. จังหวัดแม่ฮ่องสอน [Online]. https://new.maehongson.go.th/border-trading/ [22 มิถุนายน 2565]
เทพรักษ์ สุริฝ่าย และลำปาง แม่นมาตย์. (2561). บทบาทการค้าชายแดนในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร. วารสารการเมืองการปกครอง, 8 (1), 153–176.
นิสิต พันธมิตร. (2550). ผลกระทบของการค้าชายแดนภาคเหนือจากข้อตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานสนับสนุนงานวิจัย.
พิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์. (2565). รู้เฟื่องเรื่องการบริหารความเสี่ยง ด้านการค้า การลงทุน ชายแดนไทย และ CLMV. หลักสูตรการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 10. [Online]. https://www.oic.or.th/sites/default/files/institute/course/91919/public/11-3-65_naayphithaks_udmwichaywathn_ruuefuuengeruuengkaarbrihaarkhwaamesiiyngdaankaarkhaakaarlngthun.pdf [12 พฤศจิกายน 2565]
มณีรัตน์ การรักษ์. (2558). การพัฒนาการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษาตลาดการค้าชายแดน ช่องจอม จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยนครพนม, 5 (1), 35–43.
ยุภาภรณ์ เทพจันทร์, บุญฑวรรณ วิงวอน, และปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช. (2563). โครงสร้างความสัมพันธ์ของการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การสนับสนุนของภาครัฐและผลการดำเนินงานเชิงนวัตกรรม ที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5 (12),122-135.
รัตนา สายคณิต และชลลดา จามรกุล. (2560). เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันวิสาข์ เจริญนาน, สุวรรณา ก่อวัฒนกุล, และพุทธน้ำผึ้ง ฉัตรภูมิพงศ์. (2565). ปัจจัยและผลลัพธ์ของการจัดการภาวะวิกฤติของกลุ่มผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ในประเทศไทยช่วงการระบาดของโรคโควิด-19. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 45 (175), 49–70.
วิภวานี เผือกบัวขาว, ประสารโชค ธุวะนุติ, และชนัด เผ่าพันธ์ดี. (2560). การกาหนดนโยบายส่งเสริมการค้าชายแดนไทย—เมียนมา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10 (3), 63–85.
วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์. (2560). ความเหมาะสมในการเปิดด่านจุดผ่านแดนถาวรไทย-เมียนมา บ้านห้วยต้นนุ่น อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. พิฆเนศวร์สาร, 13 (2), 93-108.
สมาน บูชารัตนชัย. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการประกอบธุรกิจส่งออกสินค้าชายแดน ไทยและกัมพูชา กรณีศึกษา จังหวัดสระแก้ว. บัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สาขามนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). รุก ‘แม่ฮ่องสอนโมเดล’ สศก. แจงภาพรวมครัวเรือนเกษตรในจังหวัด เร่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร [Online]. http://www.oae.go.th/view/1 [22 มิถุนายน 2565]
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง. (2565). รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมกราคม 2565. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.
สิริรัฐ สุกันธา. (2559). การบริหารจัดการการค้าชายแดนในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 8 (1), 221–244.
สุมาลี สุขตานนท์. (2561). การศึกษาการใช้ประโยชน์จากการขนส่งชายฝั่งเพื่อปรับเปรียนรูปแบบการขนส่งสินค้าชายแดนไทย-พม่า. สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์. (2565). จจัยที่ส่งผลต่อความเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ของผู้ประกอบการรายใหม่ ด้านอุตสาหกรรมบริการและท่องเที่ยว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12 (2), 42-54.
สุรพล ซาเสน. (2563). แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่จุดผ่อนปรน (ด่านประเพณี) ชายแดนไทย-ลาว: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11 (1), 217–231.
อดุลย์ โชตินิสากรณ์. (2562). รู้เฟื่องเรื่องปัจจัยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย [Online] :https://www.oic.or.th/sites/default/files/institute/course/89369/public/dft_border_trade_presentation_v1.0_final_1.pdf [14 พฤศจิกายน 2565]
อภิยุกต์ อำนวยกาญจนสิน. (2564). ความไม่สงบทางการเมืองในเมียนมา กับเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมไทย. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.
Veciana, J. M., & Urbano, D. (2008). The institutional approach to entrepreneurship research. Introduction. International Entrepreneurship and Management Journal. 4, 365–379. DOI:10.1007/S11365-008-0081-4
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Sutawan Satjasomboon, Teevara Waidee , Jakkapong Sukphan

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ