การบริหารงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.148คำสำคัญ:
งบประมาณ; , งบประมาณรายจ่าย; , การบริหารงบประมาณบทคัดย่อ
งบประมาณเป็นเครื่องมือทางการคลังที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่ การบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่สอดคล้องความต้องการของประชาชนจะสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายขององค์กร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) เปรียบเทียบการบริหารงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอ ศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จำนวน 197 คน ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และ สถิติทดสอบเอฟ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีจากมากไปหาน้อย คือ การอนุมัติงบประมาณ การจัดทำงบประมาณ การบริหารงบประมาณ การควบคุมงบประมาณ ตามลำดับ (2) บุคลากรที่สังกัดหน่วยงานต่างกันมีความคิดต่อการบริหารงบประมาณรายจ่ายแตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีด้านการควบคุมงบประมาณแตกต่างกัน และบุคลากรที่สังกัดกองงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีด้านการอนุมัติงบประมาณแตกต่างกัน
References
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2561). การคลังสาธารณะ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลลดา เกียรติสุข. (2555). พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณที่มีผลต่อการพัฒนาจังหวัด: กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธเนศพล อินทร์จันทร์. (2562). การบริหารจัดการการเงินและงบประมาณของเทศบาลเมืองคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(2), 58 – 71.
นนทวรรณ ใจสุทธิ. (2559). การศึกษาสภาพปัญหาในการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา): มหาวิทยาลัยบูรพา
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
ปพิชญา วิบรรณ์. (2557). กระบวนการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำภอนาทม จังหวัดนครพนม วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยอดศักดิ์ เกษเงิน. (2557). รูปแบบการบริหารงบประมาณด้านการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ. บริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 14(3), 83 – 84.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). ภาวะผู้นํา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.
ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ 2563. (20 ตุลาคม 2563). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 23 ก . หน้า, 1-8.
วาทินี เศรษฐสังข์ ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ และ สุคนธ์ เครือน้ำคํา. (2560). ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(2), 116-125.
สนอง บุญเพิ่ม ปราโมทย์ ลำใย และ ไฉไล ศักดิวรพงศ์. (2556). ปัญหาในการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(1), 65-75
สุรสิทธิ์ วชิรขจร และ กฤติยา อนุวงศ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนของหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนา. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 11(4), 45-62.
อิทธิยา คล่ำเงิน. (2558). “การบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี”, การประชุมวิชาการระดับชาติ วันที่ 22 ธันวาคม 2558 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd edition. New York : Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 กชกร เดชะคำภู

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ