อิทธิพลของสำนวนสุภาษิตจีนที่ปรากฏตัวเลข 1-9 (一 - 九) ในภาษาและวัฒนธรรมจีน
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.144คำสำคัญ:
สำนวนสุภาษิตจีน;, ตัวเลขจีน 1-9 (一-九); , วัฒนธรรมจีนบทคัดย่อ
จากประสบการณ์การสอน ผู้วิจัยพบคำศัพท์เกี่ยวกับตัวเลขจีนในเนื้อหารายวิชาที่ได้สอนในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งนอกจากใช้บอกลำดับ ปริมาณ ยังปรากฏในสำนวนสุภาษิตจีน 4 พยางค์จำนวนมาก มีความหมายตรงตามตัวอักษรและความหมายอื่น ๆ ทำให้นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนสับสน ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง ตีความในการสื่อสารและอ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง ผู้วิจัยจึงสนใจอิทธิพลของสำนวนสุภาษิตจีนที่ปรากฏตัวเลข 1-9 (一-九) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย รวบรวมและจัดหมวดหมู่สำนวนสุภาษิตจีน 4 พยางค์ที่ปรากฏตัวเลขจีนเลข 1-9 (一-九) ในด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน กลุ่มตัวอย่าง คือ สำนวนสุภาษิตจีน 4 พยางค์ที่ปรากฏตัวเลขจีนเลข 1-9 (一-九) จากพจนานุกรมจีน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 422 คำ แบ่งตามความหมายได้ 6 หมวด ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมทางธรรมชาติ วัฒนธรรมทางวัตถุ วัฒนธรรมทางระบบ วัฒนธรรมทางพฤติกรรม วัฒนธรรมทางจิตวิทยา และด้านอื่นๆ ที่ไม่สามารถจัดเข้ากับ 5 ด้านข้างต้นได้ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ มีสำนวนสุภาษิตที่มีความหมายแสดงเวลา ความถี่ ขนาด ปริมาณ ระยะห่าง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ข้างต้น สรุปได้ว่าจากกลุ่มตัวอย่างมีสำนวนสุภาษิตจีน 4 พยางค์ที่ปรากฏตัวเลขจีน เลข 1-9 (一-九) จำนวนมากที่สุดด้านวัฒนธรรมทางจิตวิทยา สะท้อนถึงมุมมอง ความรู้สึก อุปนิสัยชาวจีนตลอดจนอิทธิพลของศาสนาที่แทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมจีนผ่านสำนวนสุภาษิตจีนที่ปรากฏตัวเลข
References
เธียรชัย เอียมวรเมธ. (2551). พจนานุกรมไทย-จีน-อังกฤษ ฉบับ 60,000 คำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท รวมสาส์น (1977) จำกัด.
นพดล นันทสุขเกษม. (2557). พิชิตข้อสอบภาษาจีน 3 ฉบับสำนวนจีน. สมุทรปราการ : ปสันน์ บุ๊ค.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2555). คำพ้องจีน-ไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
อารีย์ พรหมรอด. (2555). ความหมายแฝงของตัวเลข 1 (一) ในภาษาจีน. วารสารจีนศึกษา, 5 (5), 108-128.
อาศรมสยาม-จีนวิทยา. (2554). คำจีนใช้สนุก. กรุงเทพฯ : ทฤษฎี.
Dictionary Editing Office, Institute of Linguistics, Chinese Academy of Social Sciences. (2020). Modern Chinese Dictionary. 7th Edition. Beijing: Commercial Press.
Gao Xu. (2009). Analysis of the cultural connotation of the number "8". Anhui Literature. 9
Gu Jianping. (2017). Chinese character graphic dictionary. Reprint Shanghai: Oriental Publishing Center.
Ji Chuanbo. (2001). Cultural Significance, Communicational Cultural Semantics and Teaching Chinese as a Foreign Language. Journal of Liaocheng Normal University. 1.
Li Pengxing. (2011). Numerical Words and Research on Teaching Chinese as a Foreign Language. Master's degree, Southwest University. CNKI.
Long Qingran. (2003). Number exaggeration in Chinese idioms. Journal of Shaoyang University (Social Sciences)
Lu Bisong. (2007). Teaching Chinese and Chinese as a Second Language. Beijing: Beijing Language and Culture University Press.
Ma Sheng Jingheng. (2007). Listen to stories and learn idioms. Reprint, Beijing: Beijing Language and Culture University Press.
Nida, Eugene A., & Charles R. Taber. (1969). The Theory and Practice of Translation, With Special Reference to Bible Translating. Leiden : Brill.
Peter Newmark. (1998). More Paragraphs on Translations. Multilingual Matter Ltd.
Pu Wenhao. (2020). Cultural Connotation in Chinese Numerical Words. language newspaper. 2. 1-2.
Qin Rui. (2015). Auspicious animals and auspicious birds. Hefei: Huangshan Book Club.
Wang Yongzhong & Pan An. (2002). Comprehension and Translation of Digital Ambiguity in Chinese Idioms. Journal of Anhui University of Technology (Social Science Journal). 1
Zhang Gaoxiang. (2003). Cultural vocabulary in teaching Chinese as a foreign language. Journal of Yunnan Normal University. 3.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 จิราพร ปาสาจะ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ