ผลการศึกษาการใช้กระบวนการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง Coaching And Mentoring สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาเขต 2 จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • รักศักดิ์ เลิศคงคาทิพย์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://orcid.org/0000-0003-3272-3441
  • กิติศักดิ์ เกิดโต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://orcid.org/0000-0001-9485-7715
  • ปฐมพงศ์ อยู่จำนงค์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://orcid.org/0000-0002-0274-1588
  • ธนโชค จันทร์สูง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://orcid.org/0000-0001-9630-054X
  • อุบลวรรณ สายทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://orcid.org/0000-0002-9675-109X

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.135

คำสำคัญ:

กระบวนการยกระดับคุณภาพการศึกษา; , ระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา; , โรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

ในโรงเรียนขนาดเล็กพบว่ามีปัญหาในด้านคุณภาพด้านการเรียนการสอน ทั้งนี้ปัญหาอาจจะมาจากความขาดแคลนผู้สอนที่มีความชำนาญ ไปจนถึงระบบบริหารการจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ดีเท่าที่ควร และวิธีการหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพของครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ คือการใช้รูปแบบการสอนในระบบพี่เลี้ยง งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของครูในโครงการการใช้กระบวนการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะด้านความรู้และด้านปฏิบัติงานก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนจากแบบทดสอบก่อนการอบรมและหลังการอบรม 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครู ในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาเขต 2 จังหวัดอุตรดิตถ์ 17 โรงเรียน เป็นจำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้กระบวนการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการการใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคาสถิติ t-test (Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่
มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมาจากสาขาภาษาอังกฤษ 2) ผลการศึกษาสมรรถนะด้านความรู้และด้านปฏิบัติงานของผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่าก่อนเข้าร่วมโครงการมีสมรรถนะด้านความรู้และด้านปฏิบัติงานอยู่ในระดับพอใช้ และหลังเข้าร่วมโครงการมีสมรรถนะอยู่ในระดับดี 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเข้าร่วมอบรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4) ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า มีความพึงพอใจต่อโครงการการใช้กระบวนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโดยระบบพี่เลี้ยง อยู่ในระดับมาก

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น

เบญจมาภรณ์ ฤาไชย และ ลลิตพรรณ ปัญญานาค. (2564) การศึกษากลวิธีการโค้ชเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาจีน. :[Online]. https://so03.tci- thaijo.org/index.php/IARJ/article/view/256336/170985. [26 ตุลาคม 2565].

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การ ปฏิบัติ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เวียงชัย แสงทอง. (2556). การนิเทศระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring.เอกสารประกอบการอบรมการนิเทศระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษา (Coaching and Mentoring). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

สมเกียรติทานอก, วาสนา กีรติจำเริญ, ธัญญรัศม์ จอกสถิต และ ณัฐธิดา ภูบุญเพชร. (2556). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1.นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวดำเนินงานของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สิริพัชร ติราวรัมย์. (2553). การนิเทศแบบชี้แนะ(Coaching) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของบุคลากรโรงเรียนบ้านกำไสจาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุรินทร์ เขต 3 :[Online]. http://webboard.kruthai.info/index.php?topic=380.0. [14 พฤษภาคม 2559].

อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์ (2559) รูปแบบการพัฒนาครูภาษาอังกฤษโดยใช้กระบวนการ Coaching และ Mentoring. [Online] https://so04.tcithaijo.org/index.php/eduku/article/view/110806/167540. [26 ตุลาคม 2565].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02

How to Cite

เลิศคงคาทิพย์ ร., เกิดโต ก. ., อยู่จำนงค์ ป. ., จันทร์สูง ธ. ., & สายทอง อ. . (2022). ผลการศึกษาการใช้กระบวนการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง Coaching And Mentoring สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาเขต 2 จังหวัดอุตรดิตถ์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(6), 59–76. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.135