แนวทางการจัดการคลังสินค้าออนไลน์ของผู้ขายกาแฟสำเร็จรูปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.126คำสำคัญ:
การจัดการ; , คลังสินค้าออนไลน์; , ผู้ขายกาแฟสำเร็จรูปบทคัดย่อ
การทำธุรกิจออนไลน์ คือ การค้าขายและให้บริการผ่านทางระบบออนไลน์ โดยมีเว็บไซต์เป็นสื่อกลาง ในปัจจุบันทั้งเว็บไซต์ที่ต้องลงทุนทำขึ้นมาเอง และเว็บไซต์ที่เปิดให้ทำการลงโฆษณาขายแบบฟรีๆ อย่างเช่น เว็บลงประกาศฟรี การทำธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบันไม่ได้ทำขึ้นเพราะเป็นกระแส แต่เป็นการทำขึ้นโดยมองการณ์ไกล เพื่อการสร้างรายได้แบบระยะยาว และสามารถยึดเป็นอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวได้ ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมการจัดการคลังสินค้าออนไลน์ของผู้ขายกาแฟสำเร็จรูป ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจังหวัดพัทลุง และเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการคลังสินค้าออนไลน์ ของผู้ขายกาแฟสำเร็จรูป ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจังหวัดพัทลุง ประชากรคือผู้บริโภคที่ซื้อสินค้ากาแฟเพื่อสุขภาพผ่านทางแอพพลิเคชั่นต่างๆใน จังหวัดจังหวัดพัทลุง โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ชุด และใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยตรงจากผู้จัดการและพนักงานที่ดูแลเกี่ยวกับการควบคุมสินค้าคงคลังออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่าส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ 1 - 3 ปี มีประสบการณ์การทำงาน 1 – 5 ปี ลักษณะธุรกิจเจ้าของกิจการคนเดียว การวิเคราะห์ข้อมูลการให้ระดับความสำคัญต่อปัจจัยด้านการจัดการคลังสินค้าออนไลน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม = 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.464 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าค่า significance ของตัวแปรประสบการณ์การทำงานตำแหน่งและรายได้เฉลี่ยเดือนมีค่ามากกว่าระดับนัยสำคัญ 0.05 แสดงว่าปัจจัยต่างๆ ข้างต้นที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลังประเภทผู้ขายกาแฟสำเร็จรูปไม่แตกต่างกัน
References
กมลชนก ปลื้มภิรมย์ และ ปิยะเนตร นาคสีด. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลังกรณีศึกษา บริษัทแพ็คเกจดีไซน์ จํากัด. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2555). รายงานประจำปี 2555 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่. กรุงเทพฯ: กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). หลักสถิติ. ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 13.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2550). การจัดการคลังสินค้า. กรุงเทพฯ : บริษัท โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิง จํากัด,
ชัชชุดา หลีเหล่างาม และ ดาริณี ตัณฑวิเชฐ.(2560). กลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจสำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 4 (1), 62-77.
เชฐธิดา กุศลาไสยานนท์ ,วิภาวรรณ ทองเนียม และ วิภาวรรณ จันทร์ประชุม. (2559). การศึกษาสมรรถนะการบริหารจัดการกลยุทธ์โลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ขิงผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสาร วิชาการ พระจอมเกล้า พระนครเหนือ, 27 (1).
ไตรภพ จิตนาริน และ แก้วใจ อาภรณ์พิศาล. (2561). การพัฒนาระบบจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษาสินค้าแบรนด์ตรีสรา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ธารทิพย์ ประจินต์ (2558). การศึกษาทำเลที่ตั้งคลังสินค้า กรณีธุรกิจคาเฟ่ อเมซอน. [Online] https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files/ปีที่%207%20ฉบับที่%203/7-3-15.pdf [20 มกราคม 2563]
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.
อภิชาต โสภาแดง และคณะ. (2551). การศึกษาระบบจัดการโซ่อุปทานของลำไยสดในประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ศานิต ธรรมศิริ, จิราภรณ์ ทัพวงศ์, ภิญญดา ประกอบแก้ว, ธวัชชัย ม่วงมงคล, กฤติยา ศุภมนไพศาล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ