รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.149คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการศึกษา;, การส่งเสริมทักษะชีวิต; , การมีส่วนร่วม; , ภูมิปัญญาท้องถิ่นบทคัดย่อ
การจัดการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางพัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับผู้เรียนในมิติของภูมิสังคมของเยาวชน สถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้บริการทางวิชาการแก่ท้องถิ่น ชุมชน ควรหาแนวทางส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้จบการศึกษาตามหลักสูตร และมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น (2) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น และ (3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น และ (4) ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู นักเรียน จำนวน 77 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินรูปแบบ และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ที่มีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงสุด คือ สถานศึกษาสนับสนุนให้ครูนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ คือ อบรม สัมมนาและศึกษาดูงานสำหรับครู คิดเป็นร้อยละ 91 รองลงมา คือ สถานศึกษากำหนดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนที่ต้องแก้ไขให้สอดคล้องกับบริบทของนักเรียนและท้องถิ่น คือ กิจกรรมหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด กิจกรรมส่งเสริมอาชีพคิดเป็นร้อยละ 83 และอาชีพที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เกษตรพอเพียง คิดเป็นร้อยละ 82 ตามลำดับ (2) รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น พบว่าโครงสร้างรูปแบบประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ สาระสำคัญ และองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบแยกออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม และด้านการจัดการเรียนรู้ (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น พบว่า ด้านการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการจัดการเรียนรู้ โดยรวม พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด และ (4) ประสิทธิผลรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น มีความสอดคล้องเหมาะสมสำหรับการนำไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ค่าดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมเท่ากับ 1.00
References
กระทรวงมหาดไทย. (2560). โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
จิตตวดี ทองทั่ว. (2554). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับจัดกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิตในสถานศึกษา : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนพัชร แก้วปฏิมา. (2547). การพัฒนารูปแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). สถิติวิจัยการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุล.
ประหยัด สุขสำราญ. (2556). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ไพโรจน์ พรหมมีเนตร. (2552). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําทางการศึกษาตามหลักพุทธธรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2558). รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนประจำปี 2557. กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2547). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
วีรศักดิ์ เลียบสื่อตระกูล. (2548). รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมอาชีพอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา จังหวัดชัยนาท (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สมปอง มาตย์แท่น. (2555). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการการพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สมพงษ์ ลอยลม. (2547). การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอหนองม่วง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต : สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2. (2563). ข้อมูลบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Chakkrit Leelasakulphak, Nattachai Chantachum, Pongtorn Popoonsak

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ