ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร

ผู้แต่ง

  • นภัสรพี แถบเงิน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร https://orcid.org/0000-0002-0521-0870
  • ละมัย ร่มเย็น สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร https://orcid.org/0000-0001-9969-8688
  • สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร https://orcid.org/0000-0002-6017-7321

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.122

คำสำคัญ:

ความรู้; , การจัดการขยะ; , การมีส่วนร่วมของประชาชน; , ประสิทธิภาพการจัดการขยะ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาขยะล้นเมืองเนื่องจากปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี เพราะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของประชาชน นอกจากนี้ที่ผ่านมาการจัดการขยะมูลฝอยยังไม่ได้คำนึงถึงการเตรียมพร้อมในการบริหารจัดการในระยะยาว การจัดการขยะจึงควรเริ่มจากต้นทาง กล่าวคือชุมชนและประชาชนซึ่งปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากเพราะมีข้อมูลเผยแพร่ออกมามากมายให้ชุมชนได้รับรู้และมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการขยะได้ดีขึ้น ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ การมีส่วนร่วมของประชาชน และประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลนครสกลนคร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 398 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.739-.929 ค่าความเชื่อมั่น 0.843 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร มีความรู้ในการจัดการขยะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะในเขตเทศบาลนครสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ความรู้ในการจัดการขยะ ด้านประโยชน์ของการจัดการขยะ (β =.498) ความหมายของขยะ (KN1) (β=.218) และการจัดการขยะ (KN4) (β=.189) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านประเภทของขยะ (β=.095) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถทำนายระดับประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร ได้ร้อยละ 45.60 (R2Ad=.456) การส่วนร่วมของประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (PAR4) (β=0.222) และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (PAR1) (β=0.205) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร ได้ร้อยละ 34.30 (R2Adj=0.343) ส่วนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564). กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2560). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2559). หลักการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐวุฒิ ผดุงเพียร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนพ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสยาม.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

เทศบาลนครสกลนคร. (2559). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครสกลนคร พ.ศ. 2559-2563. สกลนคร:เทศบาลนครสกลนคร.

เทศบาลนครสกลนคร. (2563). บรรยายสรุปเทศบาลนครสกลนคร. สกลนคร: เทศบาลนครสกลนคร.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ศรีอนันต์การพิมพ์.

ปภาวรินท์ นาจำปา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาล ตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปาลิดา สามประดิษฐ์. (2559). การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติ และความรับผิดชอบทางสังคม ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ถุงผ้าบรรจุสินค้าที่ซื้อจาก Tops Market ของคนในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พัลลภ สิงหเสนี. (2560). แนวทางการบริการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนในรูปแบบประชารัฐ. รายงานการวิจัยหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 59. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

พีระพงษ์ ทองแท้. (2560). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณี องค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วันวิสาข์ คงพิรุณ. (2559). ปัจจัยทีมีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในหมู่บ้านโป่งปะ ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วีรวัลย์ แก้วบุญชู. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน กรณีศึกษา เขตดอนเมืองกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1561-1570.

ศิริภัทธา พลมาตร. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบาลตำบลกุดชุมพัฒนาอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศุภษร วิเศษชาติ (2559) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนชุมชนที่ 2 เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. รายงานการวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาชลบุรี.

สมเกียรติ เกียรติเจริญ. (2552). เทคนิคการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดอุทัยธานี. (2555). คู่มือองค์ความรู้. “การบริหารจัดการขยะมูลฝอย”. อุทัยธานี: ส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดอุทัยธานี.

สุกันยา บัวลาด. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนพ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อาณัติ ต๊ะปินตา. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

Cohen, John M., & Uphoff, Norman T. (1980). Participation’s Place in Rural Develop: Seeking clarity Through Specificity. World Development. 1980.

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis. 3rd edition, New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-20

How to Cite

แถบเงิน น. ., ร่มเย็น ล. ., & สวัสดิ์ไธสง ส. . (2022). ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(5), 733–754. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.122