รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงวิทยาลัยสารพัดช่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.137คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน;, ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง; , วิทยาลัยสารพัดช่างบทคัดย่อ
การพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการส่งเสริมประชากรในทุกระดับให้ความรู้ ความสามารถ โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยการจัดโอกาสให้ผู้เรียนใช้ความรู้ ความชำนาญ ทักษะที่มีอยู่รวมทั้งจุดเด่นของตัวเองนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยสารพัดช่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยสารพัดช่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยสารพัดช่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4) ยืนยันรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยสารพัดช่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 1 คน และ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มีระดับการปฏิบัติของโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (2) ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ 2) สภาพแวดล้อมการจัดการเรียนรู้ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 4) การวัดและประเมินผล โดยมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการทดลองใช้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญา ด้านทักษะและความรู้ของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ (4) ผลการประเมินเพื่อยืนยันรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
ชัยชุมพล พิทักษ์. (2559). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปวีณา ลิ้มสุวัฒนกุล. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของครู โรงเรียนอนุบาลปิยะพัฒน์ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ยุพาพันธ์ มินวงษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโครงงาน เน้นการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ (3P) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิชัย ตรีเล็ก. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านโลกเสมือนผสานโลกจริงบนเอ็มเลิร์นนิ่งเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานประชาคมอาเซียนระหว่างนักเรียนไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์, (2561). รายงานสรุปผลการเรียนนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2560. กาฬสินธุ์ : ผู้แต่ง.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานผลการตรวจสอบ – สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงพุทธศักราช 2557 หมวดทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 จงจินต์ บุญไชยแสน, ณัฏฐชัย จันทชุม , วิมลมาศ ปฐมวณิชกุล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ