รูปแบบการบริหารวิชาการแบบ RM Model ตามแนวคิดวงจรคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา โรงเรียนร่วมมิตรวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

ผู้แต่ง

  • เพชรา พิมพ์ศรี โรงเรียนร่วมมิตรวิทยา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 https://orcid.org/0000-0003-4858-3543

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.93

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารวิชาการ; , ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา; , RM Model

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการวิชาการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพโดยใช้แนวคิดวงจรคุณภาพเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งเป็นความสำเร็จของนักเรียนด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และสติปัญญาเพิ่มสูงขึ้น การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบ RM Model ตามแนวคิดวงจรคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารวิชาการแบบ RM Model ตามแนวคิดวงจรคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา และ 4) เพื่อประเมินรับรองรูปแบบการบริหารวิชาการแบบ RM Model ตามแนวคิดวงจรคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 179 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 8 คน ครู จำนวน 14 คน นักเรียน จำนวน 78 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 78 คน ในปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา 2) รูปแบบการบริหารวิชาการแบบ RM Model ตามแนวคิดวงจรคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารวิชาการแบบ RM Model ตามแนวคิดวงจรคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา และ 4) แบบประเมินรับรองรูปแบบการบริหารวิชาการแบบ RM Model ตามแนวคิดวงจรคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งด้านการคำนวณและภาษา และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ วิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ด้านสภาพปัญหา พบว่า มีปัญหาด้านการบริหารงานวิชาการ งบประมาณ และการวิจัยในชั้นเรียน และมีความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  (2) รูปแบบการบริหารวิชาการแบบ RM Model ตามแนวคิดวงจรคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ มิติที่ 1 ครูและผู้บริหารคุณภาพ มิติที่ 2 ห้องเรียนคุณภาพ มิติที่ 3 นักเรียนคุณภาพ และมิติที่ 4 โรงเรียนคุณภาพ และประยุกต์ใช้วงจรคุณภาพแบบ PDCA เป็นแนวทางการดำเนินงาน (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารวิชาการแบบ RM Model ตามแนวคิดวงจรคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา พบว่า 1) ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ด้านการคำนวณมีคะแนนสูงขึ้นร้อยละ 90.50 ด้านภาษามีคะแนนสูงขึ้นร้อยละ 96.62 และ 2) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า วิชาภาษาไทยมีคะแนนสูงขึ้นร้อยละ 53.62 วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนสูงขึ้นร้อยละ 36.20 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนสูงขั้นร้อยละ 33.68 และวิชาภาษาอังกฤษมีคะแนนสูงขึ้นร้อยละ 34.31 และ (4) ผลการประเมินรับรองรูปแบบการบริหารวิชาการแบบ RM Model ตามแนวคิดวงจรคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.37 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความถูกต้องมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความเหมาะสม ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2558.กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไกรพันธ์ พูลพันธ์ชู สาธร ทรัพย์รวงทอง และ นันทิยา น้อยจันทร์. (2561). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาต้นแบบพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 5 (พิเศษ), 229.

เจตนา เมืองมูล และ นงคราญ ปัญญาสีห์. (2561). การพัฒนามาตรฐานห้องเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1. [Online] http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25640707_093659_7640.pdf. [30 มิถุนายน 2563]

ชนิดา ยอดสาลี และ กาญจนา บุญส่ง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9 (1), 1217-1218.

ชลธิดา เพชรานรากร, วรกฤต เถื่อนช้าง และ สุพรต บุญอ่อน. (2563). การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยใช้วงจรคุณภาพตามแนวพระพุทธศาสนา. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8 (2), 271-284.

ญาดา วิวัฒนาทร นิพนธ์ วรรณเวช และ พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (3), 232-234.

ทิวัฒน์ ศรีดำรง แน่งน้อย ย่านวารี และ สมคิด สร้อยน้ำ (2556). การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ : การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 10 (18), 6-7.

ธนสมพร มะโนรัตน์. (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติโรงเรียนบ้านห่อวารี (นิพัทธ์ธรรมาภรณ์อุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีษะเกษ เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 12 (ฉบับพิเศษ), 134.

ธริศร เทียบปาน นิรันดร์ จุลทรัพย์ และ วันชัย ธรรมสัจการ. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 5 (3), 686.

ภาณี สัจจาพันธ์. (2554). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 2 (1), 95.

ยลพรรษย์ ศิริวัฒน์ และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2562). ตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา.วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (1), 492-493.

วิจิตรา สอนทะ. (2563). การบริหารคุณภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีรศักดิ์ ตะหน่อง และ พนายุทธ เชยบาล (2562). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (9), 4536-4538.

วีระ วงศ์สรรค์. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 5 (1), 100-101.

ศักดิ์สิทธิ์ ขัตติยาสุวรรณ วิมล จันทร์แก้ว และ พรพนา ศรีสถานนท์. (2564). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารรรัชต์ภาคย์. 15 (39), 262-279.

ศิรดา บุรชาติ. 2561. การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 20 (1), 62-63.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563. [Online] http://www.yst2.go.th/web/wp-content/uploads/2019/09/OBEC-policy-2563.pdf [3 มิถุนายน 2563]

อุทัย ไทยกรรณ์ สุขแก้ว คำสอน และ เกรียงศักดิ์ สุวรรณวัจน์. (2562). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 13 (1), 100-110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-09

How to Cite

พิมพ์ศรี เ. . (2022). รูปแบบการบริหารวิชาการแบบ RM Model ตามแนวคิดวงจรคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสถานศึกษา โรงเรียนร่วมมิตรวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(5), 223–240. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.93