คุณภาพชีวิตในการทำงานและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ชฎาภรณ์ เพียยุระ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0001-6233-1559
  • สามารถ อัยกร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0003-3715-7282
  • ชาติชัย อุดมกิจมงคล สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0001-6345-8455

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.85

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน; , วัฒนธรรมองค์การ; , ความผูกพันต่อองค์การ

บทคัดย่อ

ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดในการบริหารงานของทุกองค์กร การได้บุคลากรที่มีคุณภาพมีความผูกพันต่อองค์การ จึงถือเป็นการสร้างศักยภาพ และความยั่งยืนต่อองค์การ องค์การยุคใหม่ต่างเสาะแสวงหาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน และวัฒนธรรมองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร การศึกษาครั้งนี้ศึกษาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จำนวน 253 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพชีวิตในการทำงาน ของบุคลากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก วัฒนธรรมองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) คุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านสิทธิส่วนบุคคลในสถานที่ทำงาน (β=0.244) ด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (β=0.215) และด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ (β=0.214) มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม (β=0.139) มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถทำนายระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรได้ร้อยละ 41.40 (R2Ad=.414) วัฒนธรรมองค์การ ด้านวัฒนธรรมพันธกิจ (β=0.289) วัฒนธรรมปรับตัว (β=0.212) วัฒนธรรมเอกภาพ (β=0.189) และวัฒนธรรมส่วนร่วม (β=0.156) มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรได้ร้อยละ 53.00 (R2Ad=0.530) 

References

กัญญา บุดดาจันทร์. (2563). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กาของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เกียรติศักดิ์ โมครัตน์. (2560). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การ ที่มีผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จิตภาพร เกษประดิษฐ์. (2563). อิทธิพลของสวัสดิการ วัฒนธรรมองค์การ ที่มีความสัมพันธ์ต่อความ ผูกพันในองค์การ ของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สารนิพนธ์ บธ.ม.. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงสมร มะโนวรรณ. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลที่สังกัดโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัยสาขาวิชาพาณิชยศาสตร์และการจัดการ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นรุตต์ ทรงฤทธ์. (2559). วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. สาขาการบริหารการพัฒนาองค์การ. นครสวรรค์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.

นาดีม เจะสามะ. (2562). ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในการทำงาน: กรณีศึกษา พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. สารนิพนธ์ รป.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม. รายงานการวิจัย.กรุงเทพฯ: วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์. (2562). แนวทางการพัฒนาความผูกพันของพนักงานในองค์กร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 493-504.

พรทิพย์ ประชาญสิทธิ์. (2561). ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อความผูกผันต่อองค์การ: กรณีศึกษาในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.

พรรณปพร สื่อกลาง. (2563). จิตวิญญาณในการทำงาน และการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่งผลต่อความผูกพันในงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิเชษฐ์ ไชยแป้น. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลตำบลบ้านแป้น จังหวัดลำพูน.วิทยานิพนธ์ รป.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัชนู นาจาน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา. วิทยานิพนธ์ บธ.ม.. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

รัฐพล สุขประเสริฐ. (2565). อิทธิพลของสุขภาพองค์การ และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วรรณภา เหล็กเพชร. (2560). วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันของบุคลากรโรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่. วิทยานพินธ์ บธ.ม.. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.

วสันต์ แก้วก่า. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศิลาพร กันทา และชมภูนุช หุ่นนาค. (2561). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ รป.ม. นครปฐม: วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2558). การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำเริง เพ็งแก้ว. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลใน อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ รป.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.

สุรศักดิ์ เพ็งภาค. (2560). วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. รายงานการวิจัย. สิงห์บุรี: องค์การบริหารส่วนตำบลประศุกอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี.

อนิวัช แก้วจำนงค์. (2557). หลักการจัดการ. สงขลา: บริษัท นำศิลป์โฆษณา.

Barney, Jay B. (1986). Organizational Culture: Can It Be a Source of Sustained Competitive Advantage?. In Academy Of Management Review, 11 (3), 656 -665.

Denison and Haaland and Goelzer. (2003). Corporate Culture Organizational Effectiveness. New York: Wiley.

Leiter, M. P. & Bakker, A. B., (Eds.). (2010). Where to go from here: Integration and future research on work engagement. Usa and Canada: By psychology press.

Steers Richard M. (1977). Antecedents and Outcome of Organizational Commitment. Administrative Science quarterly.

Walton, Richard E . (1975). Improving the Quality of work Life. Harvard Business Review.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-01

How to Cite

เพียยุระ ช. ., อัยกร ส. ., & อุดมกิจมงคล ช. . (2022). คุณภาพชีวิตในการทำงานและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(5), 75–96. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.85