ปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.79คำสำคัญ:
ความสำเร็จ; , เรียนออนไลน์; , มหาวิทยาลัยเอกชนบทคัดย่อ
ปัญหาจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมาจึงถึงปัจจุบัน ส่งผลทำให้นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเอกชนทั่วประเทศมีความจำเป็นต้องเรียนออนไลน์ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 3) เพื่อค้นหาปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่มีผลการเรียนในระดับดี จำนวน 225 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะพื้นฐานของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เรียนอยู่ในคณะบริหารธุรกิจ เกรดเฉลี่ยมากกว่า 2.75 นิยมใช้โปรแกรม Zoom ชอบเรียนในเวลา 16.00-20.00 น. และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้สอน และปัจจัยความสำเร็จเชิงยืนยันของตัวแปรมีค่า c2/df=1.21., P=0.815, GFI=0.989, AGFI=0.966, NFI=0.978, IFI=0.988, CFI=0.984, RMR=0.003, RMSEA=0.012 ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานสูงซึ่งแสดงว่า ปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
References
Almaiah, M.A., Al-Khasawneh, A., Althunibat, A. (2020). Exploring the critical challenges and factors influencing the E-learning system usage during the COVID-19 pandemic. Educ. Inf. Technol. 25, 5261–5280.
Alqurashi, E. (2016). Self-efficacy in online learning environments: a literature review. Contemp. Issues Educ. Res. 9 (1), 45–52.
Baber, H. (2020). Determinants of students' perceived learning outcome and satisfaction in online learning during the pandemic of COVID-19. J. Educat. e-Learn. Res. 7 (3), 285–292.
Demuyakor, J. (2020). Coronavirus (COVID-19) and online learning in higher institutions of education: a survey of the perceptions of Ghanaian international students in China. Online J. Commun. Media Technol. 10, e202018.
Den Hertog, P. (2010). Managing service innovation: firm-level dynamic capabilities and policy options. Utrecht: Dialogic Innovatie & Interactie.
Hostify. (2008). Blog. [Online] Retrieved from http://hostify.com/category/blogmarketing/.
Li, S.W., Wang, Y., Yang, Y.Y., Lei, X.M., Yang, Y.F. (2020). Analysis of influencing factors of Anxiety and emotional disorders in children and adolescents during home isolation during the epidemic of novel coronavirus pneumonia. Chin. J. Clin. Hepatol. 28 (1), 1–9.
Mote, R. (2020). COVID-19 coronavirus. Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital Mahidol University.
Osmani, F. (2021). Analysis of Students' satisfaction with virtual education in Medical Science University during the pandemic outbreak of COVID-19. Int. J. Assess. Tools Educat. 8 (1), 1–8.
Positioningmag. (2014). Mega digital marketing trend 2012. [Online] Retrieved From http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=93821. [22 February 2022]
Rajraksa, S. (2020). Covid 'Creates New Economic Normalization to a Turning Point 'Global Supply chain. [Online] Retrieved From https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/875619. [22 February 2022]
The Information Center for COVID-19. (2022). Report of viral infection COVID-19. [Online] Retrieved From https://www.youtube.com/watch?v=vW0NlOWFEBg. [22 February 2022]
Wanitbuncha, K. (2014). Structural equation modeling analysis by AMOS. 1st Edition. Chulalongkorn University Press.
Zimmerman, W.A., Kulikowich, J.M. (2016). Online learning self-efficacy in students with and without online learning experience. Am. J. Dist. Educ. 30 (3), 180–191.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 รุ่งโรจน์ สงสระบุญ, สกุลกาญจน์ ชัยจริยาเวทย์, ปทิตตา โอภาสพงษ์, บุศรา นิยมเวช, จิตระวี ทองเถา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ