การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่อง สิ่งแวดล้อมในชุมชนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • อนุชา ทาภักดี สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0003-2692-2874
  • ประภัสสร ปรีเอี่ยม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0003-0973-8143
  • ประสพสุข ฤทธิเดช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0001-8018-8565

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.59

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง ; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; , ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การเรียนรู้แบบนำตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการควบคุมการเรียนด้วนตนเอง มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า รวบรวม และวิเคราะห์ความต้องการผลของการศึกษาข้อมูล ความรู้ และทักษะขบวนการ ตลอดจนการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ด้วยตนเอง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่อง สิ่งแวดล้อมในชุมชน ขอนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่อง สิ่งแวดล้อมในชุมชน ของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่อง สิ่งแวดล้อมในชุมชน ก่อนเรียนและหลังเรียน และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแพงหนองเหนือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 12 ข้อ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาจรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples)         ผลการวิจัยพบว่า

1.ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง ได้แผนการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองจำนวน 10 แผน แต่ละแผนประกอบด้วย 1) จุดประสงค์การเรียนรู้ 2) สาระการเรียนรู้ 3) กระบวนการในการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดผลประเมินผลในการจัดการเรียนรู้ 5) แหล่งเรียนรู้ และ 6) การบันทึกการจัดการเรียนรู้ ผลการประเมินความเหมาะสมได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 อยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด

2.ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่อง สิ่งแวดล้อมในชุมชน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6225 (3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ผลดังนี้ นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่อง สิ่งแวดล้อมในชุมชน (Mean= 15.19, S.D.=1.67) สูงกว่าก่อนเรียน (Mean = 7.25, S.D.=1.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง อยู่ในระดับมาก (Mean= 2.90, S.D.=0.32) ตามลำดับ

References

กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. (2560). ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้รอบด้านรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน : กรณีคณะพยาบาลศาสตร์nมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 20 (40), 41–51.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : การศาสนา.

เขมกร อนุภาพ. (2560). การใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2552). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ประภัสสร ปรีเอี่ยม. (2561). บุพปัจจัยการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้เทคนิคการเสริมต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของครูในชั้นเรียนรวม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12 (3), 271 – 280.

รังสรรค์ โฉมยา. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเองของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์, 12 (13), 310 – 317.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2559). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ 2558- 2559. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

Knowles Malcolm. S. (1975). Self–directed Learning, A Guide for Learners and Teachers. New York: Association Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-05

How to Cite

ทาภักดี อ. ., ปรีเอี่ยม ป. ., & ฤทธิเดช ป. . (2022). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่อง สิ่งแวดล้อมในชุมชนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(4), 301–314. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.59