ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมตามทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มโรงเรียนมัธยมชายขอบ จังหวัดเชียงราย
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2021.12คำสำคัญ:
ปัจจัยเชิงสาเหตุ; ทักษะความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม; โรงเรียนมัธยมชายขอบบทคัดย่อ
วิถีชีวิตขอคนสร้างวัฒนธรรมเพื่อความอยู่รอดและความสุขสบายในสังคม เมื่อสังคมขยายใหญ่ขึ้นก็ย่อมมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น โรงเรียนเป็นสังคมมีความแตกต่างและหลากหลายทางวัฒนธรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนชายขอบทางภาคเหนือซึ่งมีหลากหลายชนเผ่า และจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม พบว่าวัฒนธรรมส่งผลต่อชีวิตความเป็นและการศึกษาของคน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมตามทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มโรงเรียนมัธยมชายขอบ จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลรวม อิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อมของทักษะความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมตามทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มโรงเรียนมัธยมชายขอบ จังหวัดเชียงราย ได้กลุ่มตัวอย่างมากจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมตามทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มโรงเรียนมัธยมชายขอบ จังหวัดเชียงรายประกอบด้วย การเรียนการสอน นโยบาย การมีส่วนร่วม เจตคติ และทักษะความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมตามทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า
1. โมเดลที่พัฒนาโมเดลที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ พบว่า x2= 25.44, df = 44, p = 99, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, RMR = 0.019, RMSEA = 0.00 และ CFI = 1.00
2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อทักษะความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมตามทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มโรงเรียนมัธยมชายขอบ จังหวัดเชียงราย คือ ปัจจัยด้านการเรียนการสอน ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด คือ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุด คือ ปัจจัยด้านนโยบาย
References
กมลชนก ชำนาญ.(2557). การพัฒนาแบบวัดและการวิเคราะห์ระดับความสามารถทางวัฒนธรรมของครู.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา ฉบับที่ 2 534-548.
กิตติวินท์ เดชชวนากร.(2559).การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา : ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพหุวัฒนธรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขวัญสุดา วงษ์แหยม.(2560).การบริหารจัดการการศึกษาของสถานศึกษา ที่ตั้งอยู่ในชุมชนพหุวัฒนธรรม ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา.วารสารบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 13 (3), 127-146.
ทิฆัมพร สมพงษ์. (2559). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ . สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2547). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสาหรับงานบริการ. วารสารมนุษยศาสตร์, 12, 83 - 94.
บัญญัติ ยงย่วน และชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์. (2550). การใช้กิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมในสังคมพหุวัฒนธรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี,18 (1), 1-14.
บัญญัติ ยงย่วน และชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์. (2553). การใช้กิจกรรมศิลปะเพื่อส่ง เสริมการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 16 (6), 953-972.
บัญญัติ ยงย่วน. (2551). การส่งเสริมพัฒนาเด็กในบริบทของความหลากหลายวัฒนธรรม : 10 ปี ทศวรรษเพื่อเด็กและภูมิปัญยาของครอบครัว. นนทบุรี : มหาวิทยามหิดล, พริ้นติ้งแอนด์พลับลิซซิง จำกัด.
บัญญัติ ยงย่วน. (2555).รูปแบบการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา. บทความวิชาการเพื่อเด็กและภูมิปัญญาของครอบครัว. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
พิสิทธิ์ พิพัฒน์โภคากุล. (2559).วัฒนธรรมการบริการ.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 10 (1), 283-295.
มุจลินทร์ ผลกล้า. (2553). วัตถุประสงค์หลักของพหุวัฒนธรรมศึกษา. (Online). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2554 สืบค้นจาก http://gotoknow.org/blog/moolin/340006
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
รสสุคนธ์ เนาวบุตร และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558) แนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามานุษยวิทยา สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8 (1), 420-435).
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2558).วัฒนธรรมทางการเมือง.การเมือง แนวความคิดและการพัฒนา. .(พิมพ์ครั้งที่ 22)โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการประยุกต์นโยบายส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของอาเซียน.วาสารสังคมศาสตร์. 46 (1), 161-180.
สันติ บูรณะชาติ. (2558). การจัดการศึกษาในยุคประชาคมอาเซียนตามแนวทางพหุวัฒนธรรมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญญิต สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา : มหาวิทยาลัยพะเยา.
สำราญ มีแจ้ง. (2544). การใช้สถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ฟ.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2555). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกล เรื่อง พหุวัฒนธรรม สำหรับครูสังคมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุทัศน์ สังคะพันธ์. (2557). ทำไมต้องทักษะในศตวรรษที่ 21 ในบทความทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. นิสิตปริญญาเอก หลักสูตรและการสอน : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อนันต์ แย้มเยื้อน.(2559).โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการปรบตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือตอนล่าง. Souteast Bangkok Journal, 1-15.
Dupraw and Axner: 1997. Working on common Cross-culture Communication Challenges. [Online]. http:22www.pbs.org2ampu2crosscult.html. [สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2562]
Ford, D. Y., & Whiting, G. W. (2008). Cultural Competence: Preparing Gifted Students for a Diverse Society. Roeper Review, 30 (2), 104-110.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ ISSN 2774-0373 (Online)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ