ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจ่ายเบี้ยยังชีพ : ศึกษากรณีเขตพื้นที่ตำบลจานใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • เพชรรัตน์ สิ่งสิน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วัชราภรณ์ จันทนุกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://orcid.org/0000-0001-8048-9798

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2021.26

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ผู้สูงอายุ, เบี้ยยังชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์(1)เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุมีต่อการจ่ายเบี้ยยังชีพ,และ(2)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของผู้สูงอายุที่มีต่อการจ่ายเบี้ยยังชีพ,ซึ่งทำการศึกษาในเขตพื้นที่ตำบลจานใหญ่,อำเภอกันทรลักษ์,จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลจานใหญ่ที่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพจำนวน310คน,ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถามข้อมูลความพึงพอใจจากตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ,ค่าเฉลี่ย,และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจของผู้สูงอายุมีต่อการจ่ายเบี้ยยังชีพโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน เรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยดังนี้ การให้บริการรับลงทะเบียน,การให้บริการเบิกจ่ายเบี้ยยังชีพ,การให้บริการออกจ่ายเบี้ยยังชีพ,และการติดตามและประเมินผล ตามลำดับ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจ่ายเบี้ยยังชีพพบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพและด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มาก กล่าวคือมีความเป็นกันเอง,มีการติดตามเอาใจใส่ต่อสิทธิของผู้สูงอายุ,การแจ้งข้อมูลข่าวสาร,มีระบบการประสานงานระหว่างผู้นำชุมชนกับหน่วยงานราชการและการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของหมู่บ้านที่ดี,ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่รวดเร็วสะดวกต่อการรับบริการ รวมถึงการแนะนำขั้นตอนการปฏิบัติงาน,ขั้นตอนการบริการที่ชัดเจน เข้าใจง่ายและสะดวกสบายในการเข้ารับบริการต่างๆจากหน่วยงานราชการ

References

จรูญ คูณมี. (2557). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 11 (20), 152-160.

นารีนันตติกูล. (2545). ประสิทธิภาพของการบริหารจัดเก็บภาษีโดยศกษาเฉพาะมิติด้านความพึง พอใจของประชาชนต่อระบบการให้บริการด้านภาษีของเทศบาล : ศึกษากรณีเทศบาล ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต. สาขานโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2553). รายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว สำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2550). ข้อกำหนดคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ.

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์, เตือนใจ เกตุษา และบุญมี พันธ์ไทย. (2545). วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางการศึกษา 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

องค์การบริหารส่วนตำบลจานใหญ่. (2564). บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลจานใหญ่ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564). ศรีสะเกษ : องค์การบริหารส่วนตำบลจานใหญ่

Millet, John D. 1954. Management in the Public Service. New York: McGraw Hill Book.

Penchansky, R. and Thomas, J.W. (1981) The concept of access: Definition and relationships to consumer satisfaction. Medical Care, 19, 127-140.

Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York. Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

How to Cite

สิ่งสิน เ. ., & จันทนุกูล ว. . (2021). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจ่ายเบี้ยยังชีพ : ศึกษากรณีเขตพื้นที่ตำบลจานใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 1(6), 1–12. https://doi.org/10.14456/iarj.2021.26