ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

นารีรัตน์ โพธิ์โต
ศุภสัณห์ ปรีดาวิภาต

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 396 คน ด้วยวิธีการสุ่มโดยสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยจูงใจไม่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร 2) ปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในการทำงาน สถานภาพในการทำงาน สถานะของอาชีพ นโยบายและการบริหารงาน ค่าจ้างแรงงาน และวิธีการปกครองบังคับบัญชาส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร แสดงได้ดังสมการ Y(happiness) = -0.463 + 0.271X(job security) +0.202 X(working status) + 0.138X(occupation status) + 0.117X(policy and administration) + 0.112X(labor wages) + 0.117X(method of governance)

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Articles

参考

Cochran (1977). เทคนิคการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size). ค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567, จาก https://researcherthailand.co.th/

Frederick Herzberg (1959). ปลุกไฟในใจพนักงานด้วยทฤษฎี 2 ปัจจัยของ Herzberg. ค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567, จาก https://warinmed.wordpress.com/

กรมสุขภาพจิต. (2563). บทความด้านสุขภาพจิต. ค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567, จาก https://dmh.go.th/news/

เจนพจน์ ข่ายม่าน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ที่ทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐชนันท์พร ทิพย์รักษา. (2556). แรงจูงใจในการทํางาน ความบ้างาน และความสุขในการทํางาน.คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ณัฐฐินันท์ ศรีนุกูล. (2565). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ติกขเวทย์ ก้อนแก้ว. (2562). ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนค่านิยม EP SPIRIT ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน).วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปพิชญา ศรีจันทรา. (2563). แรงจูงใจและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบริษัทขนส่งแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปัญญาภา อัคนิบุตร. (2565). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน บริษัทรัฐวิสาหกิจให้บริการด้านท่าอากาศยาน Generation Y. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อรชพร ทัพพ์วรา. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของกลุ่มคนทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อังคณา ธนานุภาพพันธุ์, ดำรงค์ ถาวรและธัญชนก วิจิตร (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทํางานของพนักงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษา:บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม.วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.