โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การให้อำนาจเชิงจิตวิทยา และความยึดมั่นผูกพันในงานของพนักงาน
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การให้อำนาจเชิงจิตวิทยา และความยึดมั่นผูกพันในงานของพนักงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่พนักงานประจำทุกระดับของการประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 245 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.759-0.908 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า Chi- square/DF=2.165, CFI=0.966, TLI=0.955, RMSEA=0.070, RMR=0.038 โดย การรับรู้การการสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อการให้อำนาจเชิงจิตวิทยาและความยึดมั่นผูกพันในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ตามลำดับ การให้อำนาจเชิงจิตวิทยามีอิทธิพลทางตรงต่อความยึดมั่นผูกพันในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นอกจากนี้การรับรู้การการสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความยึดมั่นผูกพันในงาน โดยผ่านการให้อำนาจเชิงจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความยึดมั่นผูกพันในงานของพนักงานได้ร้อยละ 65.4
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การประปาส่วนภูมิภาค. (2563). รายงานประจำปี 2563. สืบค้น ตุลาคม 25, 2564 จาก https://www.pwa.co.th/contents/files/service/annualreport/Annual-Report-PWA_2020-Edit-07.01.65.pdf
การประปาส่วนภูมิภาค. (2564). แผนแม่บทด้านอัตรากำลังของการประปาส่วนภูมิภาค (ฉบับทบทวน) ปี 2564-2567. สืบค้น ธันวาคม 2, 2564 จาก https://www.pwa.co.th/support-units/files/hr/2564/Strength-Master-Plan-2021-2024.pdf
ชลิตา เต็งมณี. (2563). ผลของการรับรู้การสนับสนุนขององค์การและความยึดมั่นผูกพันในงานที่มีต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต และ ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2561). ปัจจัยเชิงเหตุที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของวิศวกรเจนเนอเรชั่นวายในรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมไทย. Journal of Industrial Education, 17(1): 120-128.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ:
วีอินเตอร์พริ้นทร์.
สิกานต์ เอี่ยวเล็ก. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การสนับสนุนจากองค์การกับความผูกพันในงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารพยาบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิสา พลายแก้ว, พัฒน์ พิสิษฐเกษม และ อัมพล ชูสนุก. (2561). อิทธิพลของการสนับสนุนจากองค์การ การให้อำนาจเบ็ดเสร็จเชิงจิตวิทยา และความยุติธรรมในองค์การต่อความยึดมั่นผูกพันในงาน ความพึงพอใจในงาน และผลการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1): 2958-2974.
Xangsayasane, S. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความมุ่งมั่นในการทำงาน ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคาร ในกลุ่มธนาคารธุรกิจของรัฐ ในเขตพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Afzali, A., Motahari, A. A. and Hatami- Shirkouhi, L. (2014). Investigating the influence of perceived organizational support, psychological empowerment and organizational learning on job performance: An empirical investigation. Tehnicki Vjesnik, 21: 623-629.
Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S. and Sowa, D. (1986). Perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 71(3): 500–507.
Fornell, C., and Larcker, D. F. (1981). Evaluating structural equation models with unobservable variables and measurement error. Journal of Marketing Research, 18(1): 39–50.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Imran, M. Y., Elahi, N. S., Abid, G., Ashfaq, F. and Ilyas, S. (2020). Impact of perceived organizational support on work engagement: Mediating mechanism of thriving and flourishing. Journal of Open Innovation: Technology, Market, and Complexity, 6(3): 82.
Iqbal, S. and Hashmi, M. S. (2015). Impact of perceived organizational support on employee retention with mediating role of psychological empowerment. Pakistan Journal of Commerce and Social Sciences (PJCSS), 9(1): 18-34.
Jose, G. and Mampilly, S. R. (2014). Psychological empowerment as a predictor of employee engagement: An empirical attestation. Global Business Review, 15(1): 93-104.
Kanter, R. M. (1979). Power failure in management circuits. Harvard Business Review, 57: 65-75.
Kline, R. B. (2005). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. 2nd ed. New York: Guilford.
Najeemdeen, I.S., Abidemi, B.T., Rahmat, F.D. and Bulus, B.D. (2018). Perceived Organizational Culture and Perceived Organizational Support on Work Engagement. Academic Journal of Economic Studies, 4: 199-208.
Schaufeli, W. B., Salanova, M., González-Romá, V. and Bakker, A. B. (2002). The measurement of engagement and burnout: A two sample confirmatory factor analytic approach. Journal of Happiness studies, 3(1): 71-92.
Schaufeli, W. B., Bakker, A. B. and Salanova, M. (2006). The measurement of work engagement with a short questionnaire: A cross-national study. Educational and psychological measurement, 66(4): 701-716.
Spreitzer, G. M. (1995). Psychological empowerment in the workplace: Dimensions, measurement, and validation. Academy of Management Journal, 38(5): 1442-1465.
Vermeulen, T. and Scheepers, C.B. (2020). Mediating effect of perceived organisational support on authentic leadership and work engagement. SA Journal of Human Resource Management/SA Tydskrif vir Menslikehulpbronbestuur, 18: a1212.
Zahed-Babelan, A., Koulaei, G., Moeinikia, M. and Sharif, A. R. (2019). Instructional leadership effects on teachers’ work engagement: Roles of school culture, empowerment, and job characteristics. CEPS Journal, 9(3): 137-156.