การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อสร้างทักษะอาชีพ ในท้องถิ่น เรื่องการพัฒนาไวน์ผลไม้และแยมผลไม้ โรงเรียนบ้านเวียงแหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.สำรวจความต้องการในการพัฒนาหลักสูตร 2.เพื่อสร้างตรวจสอบคุณภาพ 3.ทดลองใช้ และ4.ประเมินผลการใช้หลักสูตรการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างทักษะอาชีพในท้องถิ่น เรื่องการพัฒนาไวน์ผลไม้และแยมผลไม้ โรงเรียนบ้านเวียงแหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสำรวจความต้องการในการพัฒนาหลักสูตร แบบประเมินความเหมาะสม ความสอดคล้ององค์ประกอบของหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้หลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดย
หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรของนักเรียน ผู้ปกครอง และ
ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความต้องการของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทาง
การศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก โครงสร้างของหลักสูตรประกอบด้วย จุดหมายของหลักสูตร โครงสร้างของเนื้อหา/เวลาเรียน มาตรฐานการเรียนรู้ ผลลัพธ์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ แนวการจัดการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร ด้านความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และด้านความสอดคล้องของหลักสูตร ทุกประเด็นมีความสอดคล้องกัน ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า ด้านทักษะการปฏิบัติงาน ด้านผลงานทักษะอาชีพและด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเยี่ยมทุกด้าน ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้หลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กษมา ชนะวงศ์. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จันทรา แซ่ลิ่ว. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย. .งานวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชฎานิศ ช่วยบำรุง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเรื่อง การถนอมอาหารจากผลไม้ท้องถิ่น จังหวัดระยอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ณรงค์ อภัยใจ. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาส โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ. วิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ดิษยุทธ์ บัวจูม และคณะ (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างความสนใจและทักษะในอาชีพท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนบ้านพะแนงวิทยา. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญรอด ชาติยานนท์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการโดยเน้นโครงงานเป็นฐานรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องการปลูกพืชไร้ดิน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พิจิตรา ธงพานิช. (2561). การพัฒนาแบบจำลอง NPU Model: เพื่อส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. Silpakorn Educational Research Journal, 10(1), 61-71.
เพ็ญนภา กุลนภาดล และคณะ. (2559). การพัฒนาทักษะอาชีพและการดำรงชีพ สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการเชิงจิตวิทยาเสริมสร้างศักยภาพแห่งตน. มหาวิทยาลัยบูรพา: ชลบุรี.
วิชัย วงษ์ใหญ่ . (2554). นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมือง . กรุงเทพฯ : อาร์
แอนด์ ปรินท์.