แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าไหมบ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ภัคจิรา ศิลปศิริ
ธีรวัฒน์ ห่วงเพ็ชร
อาทิตยา ชัยดี
วรัญญา เค้ามูล
วิลาวัลย์ ชิณพัฒน์
อิสรีย์พร โทนผุย
กิตต์กวินเดชน์ วงศ์หมั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าไหมบ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2) ประเมินความพึงพอใจการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าไหมบ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 3) ศึกษาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าไหมบ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคล เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจำนวน 60 คน และ การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าตำบลหนองบ่อ ตัวแทนร้านขายของที่ระลึก ตัวแทนนักท่องเที่ยว ตัวแทนผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าไหมบ้านหนองบ่อ คือ 1. เคสโทรศัพท์ 2. สายคล้องโทรศัพท์ 3. รองเท้า 4. กระเป๋าใส่โทรศัพท์ 5. ที่วางโทรศัพท์ 2) ประเมินความพึงพอใจหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าไหม พบว่า โดยรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.32, SD=0.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กรรมวิธีการผลิต ( =3.55, SD=0.64) การขนส่ง ( =3.54, SD=0.77) ความสะดวกสบายในการใช้ ( =3.45, SD=0.65) ความสวยงามน่าใช้ ( =3.41, SD=0.66) ความปลอดภัย ( =3.36, SD=0.77) ราคา ( =3.24, SD=0.67) การบำรุงรักษาและซ่อมแซม ( =3.22, SD=0.59) ความแข็งแรง ( =3.20, SD=0.60) วัสดุ ( =3.19, SD=0.65) และหน้าที่ใช้สอย ( =3.13, SD=0.67) 3) แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าไหมจะต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการผลิต การขนส่ง ความสะดวกสบายในการใช้ ความสวยงาม และความปลอดภัย ราคาที่เหมาะสม

Article Details

How to Cite
ศิลปศิริ ภ. ., ห่วงเพ็ชร ธ., ชัยดี อ. ., เค้ามูล ว., ชิณพัฒน์ . ว. ., โทนผุย อ. ., & วงศ์หมั่น ก. . (2024). แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าไหมบ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 10(3), 141–158. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/284672
บท
บทความวิจัย

References

เจษฎาวุฒิ บุตรเพชร, จุฑามาส ชมผา และ สุปิยา ทาปทา. (2561). รูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมผ้าไหมไทยในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารรมยสาร, 16(2): 196-210.

นริสรา ลอยฟ้า. (2563). การเพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มช่องทางการตลาดผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมลายลูกแก้ว ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 8(1): 214–226.

ตวงรัก รัตนพันธุ์ และ ชัชวาลย์ รัตนพันธุ์. (2560). การออกแบบของที่ระลึก: การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 9(1): 1-4.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประเสริฐศรี ส่งเสริม. (2566). ความต้องการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าไหมบ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566.

สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีย์ เข็มทอง. (2566). ธุรกิจสินค้าที่ระลึก. ค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566, จากhttps://www.smeleader.com/files/business_plan/business_plan_souvenir_shop03.pdf

สิทธิชัย สมานชาติ. (2553). หัตถกรรมทอผ้าไหมบ้านหนองบ่อ ผ้าไหมงามลายประสาทผึ้งหัวจกดาว. ค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566, จาก http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/?p=737

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. ค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2566 จาก https://www.nong-bo.go.th/about-us/history?fbclid

อังกาบ บุญสูง. (2561). การออกแบบบรรจุภัณฑ์รองเท้าผ้าไหมแบรนด์วาลีดีไซด์ จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม: เทพสตรี I-TECH, 13(2): 130-137.

Ha Vy Vu. (2022). Local Handicrafts as Authentic Tourism Souvenirs Enhancing Cultural Values Through Storytelling Case: Finnish Lapland. Lapland University of Applied Sciences.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill Book Company.