คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ พนักงานการประปานครหลวง (สำนักงานประปา 18 สาขา)
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการประปานครหลวง (สำนักงานประปา 18 สาขา) 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการประปานครหลวง (สำนักงานประปา 18 สาขา) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการประปานครหลวง (สำนักงานประปา 18 สาขา) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการศึกษา คือ พนักงานการประปานครหลวงที่ปฏิบัติงานอยู่สำนักงานประปา 18 สาขา จำนวน 333 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.13, S.D.=0.54) และมีระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.22, S.D.=0.57) เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลผลการทดสอบพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกันมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ สถานภาพการสมรส และอายุงานในองค์กรปัจจุบันแตกต่างกันมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน (ในผลการวิจัยหน้า 8-9 ไม่แสดงผลการทดสอบสมมติฐานในส่วนนี้ค่ะ ) ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูง (r=0.883) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กิติคุณ ซื่อสัตย์ดี. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานชวเลข สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ปริญญาปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร, มหาวิทยาลัยเกริก.
ณัฏฐรินีย์ พิศวงศ์. (2555). ความสัมระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานกรณีศึกษาพนักงานธนาคารออสิน ภาค 1. การค้นคว้าอิสระ
ปริญญาบริหารธุรกิมหาบัญฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นวรัตน์ เพชรพรหม. (2562). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นุชรา การรุญ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พงศธร ชูสุข. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 (ภาคใต้) จังหวัดนครศรีธรรมราช. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิชญากร บุดดารวม. (2557). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 (จังหวัดอุบลราชธานี). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
พีระพัฒน์ สมศรี. (2564). แรงจูงใจในทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของกรมชลประทานปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 18(1) : 172-183.
สกล บุญสิน. (2559). ปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อการจ่ายค่าตอบแทน. คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. WMS Journal of Management Walailak University. 5(2) : 12-29.
อรวรา กล้าหาญ. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อังคณา ธนานุภาพพันธุ์, พงศ์พันธ์ ศรีเมือง และ โสภณ สระทองมา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรณีศึกษาของบริษัทธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แห่งหนึ่ง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7(1) : 236-249.
Bluestone, I. (1997). Organization Citizenship Behavior Among Hospital Employees: A Multidimensional Analysis Involving Job Satisfaction and Organizational Commitment. Hospital & Health Services Administration. 42(2): 221-262.
Emerson. (1912).The twelve principles of efficiency. New York: The Engineering Magazine.
Davis, L.E. (1977). Enhancing the Quality of Working Life: Developments in The United States. International Labor Review. 116(1): 53 - 65.
Merton, H. C. 1977.A Look at factors affecting the quality of working life. Monthly Labor Review. cited in Mikhail Kaz and Anastasiya Kuchkartaeva. 2016. Well-being in the Workplace: The Case of Working Pensioners. WELLSO 2016 - III International Scientific Symposium on Lifelong Wellbeing in the World.
Peterson and Plowman. (1989). Business Organization and Management. 3rd. (eds.). New York: Irwin.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.
Walton, R. (1975). Criteria for quality of work life. in L. E. Davis, & R. L.Cherns. eds.
The quality of working Life: Problems, prospects, and the state of the art. New York: Free Press.