ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ณัฐวุฒิ วิเศษ

摘要

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ของพนักงานในธุรกิจ
โลจิสติกส์ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจโลจิสติกส์ รวมถึงเทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจโลจิสติกส์ โดยมีแบบสอบถามแบบสอบถาม เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานระดับผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจโลจิสติกส์ของพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ของพนักงานในธุรกิจโลจิสติกส์โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับด้านทัศนคติและด้านความรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจโลจิสติกส์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านที่ อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ องค์กรให้ความสำคัญและสนใจเรื่องการพัฒนาศักยภาพตามที่คุณคาดหวัง รองลงมาได้แก่ การฝึกอบรมขององค์กรทำให้คุณทำงานอย่างมั่นใจขึ้นและเพิ่มคุณภาพงานด้วย โดยประเด็นที่พบว่ามีอยู่น้อยที่สุด คือ องค์กรมีระบบสนับสนุนการทำงานที่ทำให้มีความผิดพลาดในการปฏิบัติลดลง สุดท้ายการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจโลจิสติกส์ จากผลวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ (ด้านความรู้ ด้านทัศนคติ ด้านทักษะ) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจโลจิสติกส์ พบว่า ด้านทักษะ มีค่า 0.732 ซึ่งแสดงว่า การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ด้านทักษะกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจโลจิสติกส์มีความสัมพันธ์กันมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก สำหรับการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ส่วนด้านความรู้ มีค่า 0.580 และ ด้านทัศนคติ มีค่า 0.648 ซึ่งแสดงว่า การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ด้านความรู้และด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจโลจิสติกส์ และมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ธุรกิจควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาการเรียนรู้ที่นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง ส่วนด้านทัศนคติ ธุรกิจควรมีนโยบายหากพนักงานมีการพัฒนาสมรรถนะที่สูงขึ้นจะได้รับการพิจารณาผลตอบแทนที่ดีขึ้นเช่นกัน สุดท้ายด้านทักษะ ธุรกิจจำเป็นต้องเสริมสร้างความพร้อมทางการสื่อสารที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เพราะการสื่อสารถือเป็นปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
วิเศษ ณ. . . (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 10(2), 278–292. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/281237
栏目
Articles

参考

กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2556). เทคโนโลยีสารสนเทศและทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ.: ม.ป.ป

กรมส่งเสริมการส่งออก. (2561). สถิติการค้า. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2564, จากhttps://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub.php?cate=139&d=0 ;ii

วรรณวิไล ยกย่อง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์กรกับการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2549). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศศิวิมล แสงสุวรรณ อนิรุทธิ์ ผงคลี และ อัจฉริยา อิสสระไพบูลย์. (2556). ผลกระทบของกลยุทธ์การพัฒนาทุนมนุษย์สมัยใหม่ที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 32(6), 128-138.

สมพิศ สุขแสน. (2556). การประเมินผลโครงการ. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานการศึกษาโครงการศึกษาการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม โลจิสติกส์ไทย. กรุงเทพฯ:

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). รายงานประจำปี สพธอ. พ.ศ. 2561 : จากhttps://www.etda.or.th/th/UsefulResource/documents-for-download/ETDA-Annual-Report-2018.aspx

AlQershi, N., Mokhtar, S. S. M., & Abas, Z. (2021). The relationship between strategic innovations, human capital and performance: An empirical investigation. Sustainable Futures, 3, 100056. https://doi.org/10.1016/j.sftr.2021.100056

Arnauld de Nadaillac. (2003). The definition of competencies (online). Retrieved from http://competency.rmutp.ac.th. assessment strategies for the professions. National Office for Overseas Skills.

Bus&Truck. (2018). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจขนส่ง เพิ่มศักยภาพแข่งขันยุค 4.0 แหล่งที่มา: https://www.busandtruckmedia.com/7918/

Mondy, R. W. and Noe, R. M. (2005). Human Resource Management. 9th ed. Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.

Nunnally, J. C. 1978. Psychometric theory. 2nd ed. New York: McGraw-Hill. (หน้าที่ 7)

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Yamanae, T. (1976). Statistics an introductory analysis. London: Harper & Low.