การบริหารการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ในยุคดิจิทัล ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะเมิง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ภาณุพงศ์ วงค์หล้า
สิทธิชัย มูลเขียน
สาโรจน์ แก้วอรุณ

摘要

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ในยุคดิจิทัลของโรงเรียน ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะเมิง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ในยุคดิจิทัล ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะเมิง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 92 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) แบบมีโครงสร้าง (Structured interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า การบริหารการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ในยุคดิจิทัลของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะเมิง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.31,σ=0.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก (µ=4.42,σ=0.24) รองลงมา คือ ด้านครูในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก (µ=4.39,σ=0.29)             ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก(µ=4.14,σ=0.30) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือ ด้านผู้เรียนในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก(µ=4.11,σ=0.25) ตามลำดับ แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพ ควรมีการสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน   ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่จัดให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ ควรให้ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้มา ควรคำนึงถึงในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี           ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ควรมีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล เพื่อนำผลที่ได้ไปช่วยพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในด้านความรู้และการปฏิบัติให้ดีขึ้น ควรสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงประโยชน์และโทษรวมทั้งความรู้เบื้องต้นทางด้านกฎหมายของสื่อเทคโนโลยีที่มีต่อตัวเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
วงค์หล้า ภ., มูลเขียน ส. ., & แก้วอรุณ ส. (2024). การบริหารการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ในยุคดิจิทัล ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะเมิง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 10(2), 69–84. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/281194
栏目
Articles

参考

กมล โพธิเย็น. (2558). การจัดการเรียนรู้เพื่อนําความสุขสู่ผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 121-131.

กรธรรศ ประศาสน์วนิช. (2564). แนวทางการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

สำหรับโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ชนินทร์ ศรีส่อง และ ชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (2564). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(80), 55-67.

ประดิภา แก้วบุญมา. (2565). แนวทางการบริหารการจัดการเรียนการสอน ด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

มาริษา สุจิตวนิช และ เยาวภา บัวเวช. (2563). การรู้เท่าทันสื่อ ประโยชน์และการนำไปใช้

กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 7(1), 107-120.

มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). เกี่ยวกับ DLTV. ค้นเมื่อ 21 ส.ค. 2564, จาก https://www.dltv.ac.th/about-us.

ศศิวิมล ม่วงกล่ำ. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านความสามารถทางดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิริกานต์ จันทรศิริ. (2559). การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ตามแนวคิดวงจร

Deming โรงเรียนขนาด เล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต(บริหารการศึกษา). ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อติพร เกิดเรือง. (2559). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(1), 173-184.

อมรรักษ์ สวนชูผล. (2558). แนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองกับการจัดการศึกษา.

วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(1),

-221

อวัฒฆ์ชฎา ศรีจันทร์ และ วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2558). การบริหารวิชาการที่จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. วิทยาลัยเชียงราย.