ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

จริยา อนันต์สุวรรณชัย

摘要

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ 2) ศึกษาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 6 คน และครูผู้สอน จำนวน 324 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 330 คน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ปีการศึกษา 2565 ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของสถานศึกษาในจังหวัดเลย หนองบัวลำภู และการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.11) รายด้านทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความยืดหยุ่นในการคิด (ค่าเฉลี่ย=4.15) ต่ำสุดคือความคิดริเริ่ม (ค่าเฉลี่ย4.09) 2) ระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย4.19) รายด้าน ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย4.29) ต่ำสุดคือการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (ค่าเฉลี่ย4.09) 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (rxy=0.62)
4) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม พบว่า มีจำนวน 2 ตัวแปร คือ ความคิดริเริ่มและความละเอียดลออในการคิด ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษามีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2=0.389) สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 38.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
อนันต์สุวรรณชัย จ. (2024). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 10(1), 337–351. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/277494
栏目
Articles

参考

ชลกร ตันประภัสร์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์และนวัตกรรม ของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

นพรินทร์ สุบินรัตน์. (2018). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารอินทนินทักษิณสาร, 13(3): 67-82.

นิตยา แสนสุข. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. (2559). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปี พ.ศ. 2558. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. (2560). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปี พ.ศ. 2559. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2543). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

Alawawdeh, Sabreen. (2016). The Impact of Creativity Management in Fighting the Educational Crisis in Secondary Schools in Palestine from the Viewpoint of Headmasters, Journal of Education and Practice, 7(11): 98-105.

Butler, D. and Leahy, M. (2018). Moving towards innovation: The development of a sustainable framework for teacher professional learning. New York: Sage.

Camburn, E.M. and Han, S.W. (2015). Infrastructure for teacher reflection and instructional change: An exploratory study. Journal of Educational Change, 16(4): 511-533.

Chan, S.C.H. and Mak, W.M. (2014). Transformational leadership, pride in being a follower of the leader and organizational commitment. Leadership & Organization Development Journal, 35(8): 674-690.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

Sabbah, Suheir Sulieman. (2017). The Role of Leadership in the Development of the Creative School in Palestine. Faculty of Educational Sciences, Department of Psychology, Al-Quds University, East Jerusalem-Abu Dies, Palestine.