กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ชูศักดิ์ เจียมจร
ภารดี อนันต์นาวี
นาวาตรีพงศ์เทพ จิระโร

摘要

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ 2) สร้างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ และ 3) ทดลองใช้และประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ประชากรแบ่งออก 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 บุคลากรการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก จำนวน 300 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน และกลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ใช้งาน จำนวน 20 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัย 3 ประเภท ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสัมภาษณ์โดยใช้แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ มี 5 องค์ประกอบหลัก 30 ตัวแปร ดังนี้ (1) องค์ประกอบด้านการนิเทศการศึกษา 8 ตัวแปร (2) องค์ประกอบด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 4 ตัวแปร (3) องค์ประกอบด้านการอบรมพัฒนา 5 ตัวแปร (4) องค์ประกอบด้านนวัตกรรม 8 ตัวแปร และ (5) องค์ประกอบด้านการวัดและประเมินผล 5 ตัวแปร ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 74.229 ค่า KMO มีค่าเท่ากับ .850 2) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน เรียกว่า SEALTIE strategy มี 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แนวทางการนำไปใช้กลยุทธ์ มี 5 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 ด้านการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ที่ 2 ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลยุทธ์ที่ 3 ด้านการอบรมพัฒนากลยุทธ์ที่ 4 ด้านนวัตกรรม กลยุทธ์ที่ 5 ด้านการวัดและประเมินผล มีวิธีการรวม 30 วิธีการ ส่วนที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ ส่วนที่ 3 การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ ส่วนที่ 4 กระบวนการบริหารงานวิชาการ และ 3) ผลการทดลองใช้กลยุทธ์กับการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
เจียมจร ช., อนันต์นาวี ภ., & จิระโร น. (2024). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 10(1), 67–82. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/277468
栏目
Articles

参考

กันตวุฒิ การดี และ วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3): 179-189.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จงรักษ์ ศรีทิพย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาล. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1): 201-215.

ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(5): 1845-1868.

วไลพร เมฆไตรรัตน์. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 9(2): 137-152.

ศิริวัฒน์ บุญโตนด และ สถิรพร เชาวน์ชัย. (2565). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3): 252-274.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครนายก. (2563). ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2563-2565. นครนายก: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครนายก.

อมลรดา พุทธินันท์. (2561). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers Inc.

Ekundayo, H. T., Oyerinde, D. O., & Kolawele, A. O. (2013). Effective Supervision of Instruction in Nigerian Secondary Schools: Issues, Challenges and the Way Forward. Journal of Education and Practice, 4(8): 185-191.

Field, A., Miles, J., & Field, Z. (2012). Discovering statistics using R. Los Angeles: Sage.

Hair, J. F., Tatham, R. L., Anderson, R. E., & Black, W. (1998). Multivariate data analysis. 5th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.