ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน Grab ฟู้ดเดลิเวอรี่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน Grab ฟู้ดเดลิเวอรี่ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ระดับความพึงพอใจผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน Grab ฟู้ดเดลิเวอรี่ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เคยใช้บริการแอปพลิเคชัน Grab จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ด้านปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด (b=.313) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (b=.194) ปัจจัยด้านราคา (b=.138) และปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (b=.112) ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน Grab ฟู้ดเดลิเวอรี่ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) ระดับความพึงพอใจผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ (b=.251) ด้านความปลอดภัยในการใช้งาน (b=.228) ด้านความน่าเชื่อถือ (b=.128) และด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน (b=.124) ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน Grab ฟู้ดเดลิเวอรี่ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). คนไทยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตสูง ‘อันดับห้า’ ของโลก. ค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/867408
โกวิท บุญมี. (2559). การออกแบบเรขศิลป์บนโมบายแอปพลิเคชัน สำหรับสินค้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจียเซียน แซ่จาง. (2564). ความพึงพอใจ การรับรู้ถึงประโยชน์ และความเชื่อมั่นที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการเดลิเวอรี่ผ่านทางแอพพลิเคชั่นของร้าน 7-11 หลังช่วง COVID-19 ระลอกใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฐานเศรษฐกิจ. (2564). แอป “ฟู้ดเดลิเวอรี่” หัวบันไดไม่เคยแห้ง ขาดทุน แต่เนื้อหอมสุด. ค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564, จาก https://www.thansettakij.com/tech/486828
ดานันท์ วิกจพิสุจทธ์. (2560). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ (food delivery) ผ่านแอปพลิเคชัน (application) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประพัฒน์ โพธิ์สุ. (2562). ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์องค์กร และการสื่อสารแบบปากต่อปากที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน Grab ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปูริดา อิ้วสวัสดิ์. (2562). ปัจจัยด้านคุณค่าที่รับรู้และคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน Food delivery. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2563). หลักการตลาด (PRINCIPLES OF MARKETING). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Marketeer. (2564). ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ ยิ่งกดสั่ง ยิ่งแข่งกันสนุกกว่าเดิม. ค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2564, จาก https://marketeeronline.co/archives/218958
Marketingoops. (2561). แกร็บ ตั้งเป้าสู่การเป็น Daily Apps ส่ง “GrabFood” ลงสนามธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่. ค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564, จาก https://www.
marketingoops.com/news/brand-move/Grab-food/
THE STANDARD. (2563). ผ่าสังเวียนศึก ‘ฟู้ดเดลิเวอรี่ไทย’ เมื่อโจทย์ใหญ่ในจานอร่อยคือต้อง ‘ทำเงิน’ ด้วย. ค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564, จาก https://thestandard.co/thai-food-delivery-business/