ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครู โรงเรียนขยายโอกาสสังกัด กรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาสมรรถนะประจำสายงานของครู 3) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครู 4) เสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครู โรงเรียนขยายโอกาสสังกัด กรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะประจำสายงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครู โรงเรียนขยายโอกาสสังกัด กรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครู พบว่า ผู้บริหารควรมีทักษะและใช้เครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัย บริหารงานได้ทันต่อสถานการณ์ รู้จักเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ สามารถให้คำแนะนำในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเทคนิควิธีการและกระบวนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นในด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มีการแก้ไขหลักสูตรให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ประดิษฐ จัดโสภา. (2557). แนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปัทมา ประทุมสุวรรณ. (2562). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เมธาพร ชีวชยาภรณ์. (2562). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในอำเภอเชียงแสน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.
ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 6(1): 7.
สมชัย ตั้งพร้อมพันธ์. (ม.ป.ป.). การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ. ค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564, จากhttps://www.prosofthcm.com/Article/Detail/15689
สมหวัง ว่องไวไพศาล. (2558). การบริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุธี บูรณะแพทย์. (2557). สมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สุภาพรรณ ธะยะธง. (2562). การศึกษาสมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.
เสริมสิทธิ์ รุ่งรูจี. (2552). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.