ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของพนักงานเจเนอเรชันวายในจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของพนักงานเจเนอเรชันวายในจังหวัดนนทบุรี และ 2) เปรียบเทียบระดับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของพนักงานเจเนอเรชันวายในจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มพนักงานเจเนอเรชันวายที่อยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 384 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วย Scheffé
ผลการวิจัย พบว่า 1) พนักงานเจเนอเรชันวายในจังหวัดนนทบุรี มีความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของพนักงานเจเนอเรชันวายในจังหวัดนนทบุรี พบว่า พนักงานที่มีเพศ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ และระยะเวลาเดินทางไป-กลับที่ทำงานต่อวันต่างกัน มีความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่พนักงานเจเนอเรชันวายที่มีระดับตำแหน่งงานในปัจจุบัน ช่วงเวลาในการปฏิบัติงาน และจำนวนชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ต่างกัน มีความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
โครงการสุขภาพคนไทย. (2559). 12 ตัวชี้วัด สุขภาพคนไทยต่างเจเนอเรชัน. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. 14-15.
ฉัตรภรณ์ กาทองท่ง. (2560). สภาพแวดล้อมการทำงานและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัทก่อสร้าง. การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณพัชญ์ปภา สว่างนุวัตรกุล. (2562). ความผูกพันต่อองค์การจากมุมมองบุคลากรทางการศึกษาเจเนอเรชันวาย. วารสารช่อพะยอม. 30(2): 109-118.
ดาวใจ ศรลัมพ์. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรัก ความมุ่งมั่น และความปรารถนาที่จะทำงานเพื่อองค์การอย่างเต็มความสามารถของบุคลากร 3 ช่วงวัย: กรณีศึกษาบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
ปริณดา สมควร. (2557). ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของขาราชการตำรวจกองบังคับการอำนวยการ สำนักงานตรวจคนเขาเมือง. สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
ปัทมาพร ท่อชู. (2559). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน (The Efficiency Development of Operation). วารสาร Industrial technology review, 22(282): 94-100.
ภาวิณี แสนวัน. (2557). การศึกษาปัจจัยด้านส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน และปัจจัยด้านสังคมที่มีผลต่อความสมดุล ระหว่างชีวิตและการทำงานของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วรัญญา ดุษดี พวงเพ็ชร์ วัชรอยู่ และ อภิญญา หิรัญวงษ์ (2560) ผลกระทบของความผาสุกของพนักงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน และวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์การของธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, 14 (1): 178-197.
วิทยา อินทร์สอน และ สุรพงศ์ บางพาน. (2563). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม. ค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2 .php?id =773 §ion =30&issues =74.
วิวสกิล. (2560). ในสังคมทำงานยุคนี้ กำลังเจอกับปัญหาใหญ่ เพราะ คน Gen Y?. ค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2563, จาก http://willskills.info.
ศุภลักษณ์ แลปรุรัตน์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานและความตั้งใจลาออก: การศึกษาในพนักงานเจเนอเรชันวายของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และ สรายุทธ กันหลง. (2560). การวิจัยแบบผสมวิธี: กระบวนทัศน์การวิจัยในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง. (2563). ระบบสถิติทางการทะเบียน จำนวนประชากรแยกตามรายอายุ จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2563. ค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2563, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php.
เอสซีบี เอสเอ็มอี. (2561). 4 หนทางหยุดการลาออกของเด็ก Gen Y. ค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2563, จาก https://businesslinx.globallinker.com/bizforum/article.
Bailey, K.D. (1987). Methods of Social Research. 3rd ed. London: Collin Macmillan Publisher.
Bond, S. and Wise, S. (2003). Work-life policy: does it do exactly what it says on the tin?. Women in Management Review, 18(1/2): 20-31.
Cochran, W.G. (1977) . Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons Inc.
Mannheim, K. (1952). The Problem of Generations, Essays on the Sociology of Knowledge. Retrieved from http://www.history.ucsb.edu/faculty/marcuse/ classes/201/articles/27MannheimGenerations.pdf.
Merrill, A.R. and Merrill, R.R.. (2003). Life Matter: Crating a dynamic balance of work, family, Time and money. New York: McGraw-Hall.
Walton, R. E. (1973). Quality of work life. Sloan Management Review, 15(1): 11-12.