ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

นิตยา ขันเดช
ธารารัตน์ มาลัยเถาว์

摘要

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายปัจจัยพบว่าปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษา รองลงมา คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาและปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียน 2) ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การพัฒนานักเรียน รองลงมา คือ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 พบว่า ปัจจัยผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยการมีส่วนร่วม ปัจจัยครูและบุคลากรทางการศึกษา และปัจจัยสถานศึกษาส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยประสิทธิภาพในการทำนาย ร้อยละ 74.30

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
ขันเดช น., & มาลัยเถาว์ ธ. (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 9(2), 141–154. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/271195
栏目
Articles

参考

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กระทรวงศึกษาธิการ.

ปรมพร ทิพย์พรม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ประทวน บุญรักษา. (2555). บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ. ค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564, จาก http://academia.edu/หน่วยที่10บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ.

วราภรณ์ เกิดผลมาก. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สมบูรณ์ กฤชแดงฟู. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานของผู้บริหารกับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านอรุโณทัย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2563. เชียงราย: โรงพิมพ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET). กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา.

สุกฤตา บัวนาค. (2556). โรงเรียนอาชีวะกับสังคมไทยในปัจจุบัน. ค้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564, จาก https://sukritab.wordpress.com/

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

Reid, K., David, H. & Peter, H. (1988). Towards the effective school. Oxford: Basic Blackwell.