การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เห็ดนางฟ้าภูฐาน ตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เห็ดนางฟ้าภูฐาน 2) ศึกษาความพึงพอใจตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เห็ดนางฟ้าภูฐาน ตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนปางมะค่าวิทยาคม จำนวน 35 คน และจากนักเรียนหรือผู้บริโภคเคยซื้อเห็ดนางฟ้าภูฐานของโรงเรียนปางมะค่าวิทยาคม จำนวน 400 คน โดยใช้แบบบันทึกและแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานตามมาตรฐานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สามารถใช้งานได้จริง และตรงกับความต้องการของผู้บริโภค 2) ความพึงพอใจในการประเมินตราสินค้าด้านเทคนิคการออกแบบตราสินค้า พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการใช้รูปร่าง พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการใช้สี พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านประเภทของตราสินค้า พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจในการประเมินบรรจุภัณฑ์ ด้านปกป้องผลิตภัณฑ์ พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการบรรจุ พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านอำนวยความสะดวก พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านส่งเสริมการจำหน่าย พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความสะอาดและความปลอดภัย พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2559). การออกแบบแบรนด์และบรรจุภัณฑ์. ค้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 จาก https://bsc.dip.go.th/th/category/brand-packagingdesign/bd-branddesign.
กุลชลี พวงเพ็ชร์ สมพร พวงเพ็ชร์ นันทนา แจ้งสว่าง และ นุชจรา บุญถนอม. (2564). การพัฒนาตราสินค้าบรรจุภัณฑ์ และป้ายฉลาก ผลิตภัณฑ์ซอสกระท้อนแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านงิ้วราย อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(2): 211-228.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปัณณ์ณัช ธนัทพรรษรัตน์ และ ฉันทนา สุรัสวดี. (2558). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนโดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนบ้านคลองเดื่อพัฒนา ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(3): 76-89.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2558). วิธีและเทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศูนย์เห็ดสิงห์บุรี สำนักงานเกษตรสิงห์บุรี. (2562) เห็ดนางฟ้าภูฐาน. ค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563, จาก https://singburimushroomcenter.home.blog/2019/06/06/
สุกัญญา ขวัญตา. (2563). ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนปางมะค่าวิทยาคม. สัมภาษณ์ 20 ตุลาคม 2563.
อมรรัตน์ บุญสว่าง. (2559). การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมสินค้าอาหารเอกลักษณ์ของจังหวัดชายแดงภาคใต้. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(2): 33-60.
อาชวิน ใจแก้ว. (2560). การเพิ่มศักยภาพการผลิตและการตลาดผลผลิตเห็ดของกลุ่มธุรกิจชุมชนรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(1): 29-43.
Rudy Farid, Annisa Bela Pertiwi, S.Pd., M.Pd., Wahdiaman, S.Sn., M.Sn. (2021). Brand Design and Branding Strategy for Agro Nusantara “Kopi Warga”. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education, 12(11): 1292-1301.
Shimaguchi. (1985). Package Design in Japan. Vol.1. Tokyo: Rikuyo-sha.