การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกแอนิเมชัน เรื่อง “การจัดองค์ประกอบภาพ” เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา Snapshot for Kids ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

อชิรญา อรรถผลศีล
ธนภูมิ สุนาถวนิชย์กุล

摘要

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกแอนิเมชัน เรื่อง “การจัดองค์ประกอบภาพ” ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่ออินโฟกราฟิกแอนิเมชัน เรื่อง “การจัดองค์ประกอบภาพ” 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิกแอนิเมชัน เรื่อง “การจัดองค์ประกอบภาพ” กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนที่เลือกเรียนในรายวิชา Snapshot for Kids เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) สื่ออินโฟกราฟิกแอนิเมชัน เรื่อง “การจัดองค์ประกอบภาพ” 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่ออินโฟกราฟิกแอนิเมชัน เรื่อง “การจัดองค์ประกอบภาพ” สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อิสระ


ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่ออินโฟกราฟิกแอนิเมชัน เรื่อง “การจัดองค์ประกอบภาพ” มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 81.66/85.30  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่ออินโฟกราฟิกแอนิเมชัน เรื่อง “การจัดองค์ประกอบภาพ” โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
อรรถผลศีล อ., & สุนาถวนิชย์กุล ธ. . (2022). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกแอนิเมชัน เรื่อง “การจัดองค์ประกอบภาพ” เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา Snapshot for Kids ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม). Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 8(3), 130–145. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/267880
栏目
Articles

参考

จุน ซากุราดะ. (2558). basic infographic ใช้พลังของภาพ สร้างการสื่อสารที่ง่ายและสนุก. (ณิชมน หิรัญพฤกษ์, ผู้แปล). นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.

ตันติกร จันทรวิบูลย์ และคณะ. (2559). การพัฒนาสื่อแอนิเมชันอินโฟกราฟิก เรื่อง หลักการทางาน บทบาท และประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอยุธยานุสรณ์. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(2), 70-82.

ประภาสินี นิรมลพิศาล. (2557). การพัฒนารายการวีดิทัศน์ด้วยเทคนิคการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พนมวรรณ ผลสาลี่. (2562). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกตามทฤษฎีการถ่ายโยงความรู้ เรื่อง การออมเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3): 89-100.

พัชรา วาณิชวศิน. (2558). ศักยภาพของอินโฟกราฟิก (Infographic) ในการเพิ่มคุณภาพการเรียนรู้. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(พิเศษ): 227-240.

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2563). การสื่อสารด้วยภาพและกระบวนการถ่ายภาพ. ค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://thaipublica.org/2012/09/good-infographics-1/

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม). (2561). รายงานประจำปี 2561 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม). กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม).

ศักดิ์คเรศ ประกอบผล. (2563). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แอดดี้โมเดลและแนวคิดของกาเย่. วารสารครุศาสตร์สาร, 14(1): 17-30.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สฤณี อาชวานันทกุล. (2555). อินโฟกราฟิกที่ดี (1): ข้อมูลคือหัวใจ. ค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://thaipublica.org/2012/09/good-infographics-1/

สุวิช ถิระโคตร และคณะ. (2560). เจตคติและแรงจูงใจของผู้เรียนในการใช้แอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2): 92-101.

อนุชา เสรีสุชาติ. (2548). การบริหารการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อำนวยพร บุญจำรัส. (2561). The art of photography digital ศิลปะแห่งการถ่ายภาพ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Best, J. W. (1978). The Tools of Research in Education. 3rd ed. New Delhi: Prentice Hall of India Private Limited.