ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของประชาชนจังหวัดน่าน
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของประชาชนจังหวัดน่าน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับประชาชนจังหวัดน่าน จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลากอำเภอ จากนั้นการสุ่มตัวอย่างแบบโควตาตามสัดส่วนจากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ
ไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ด้านแอปพลิเคชัน/เว็บไซต์/บริการออนไลน์ที่ใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่การศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้ทวิตเตอร์และอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง อายุไม่มีไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้แอปพลิเคชันทางการเงินและอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง ส่วนเพศมีความสัมพันธ์กับการใช้ทวิตเตอร์และแอปพลิเคชัน/เว็บไซต์สำหรับซื้อขายออนไลน์เท่านั้น ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากใช้แอปพลิเคชัน/เว็บไซต์/บริการออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่อายุไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนเงินเฉลี่ยต่อปีที่ใช้โอนเงิน/ทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ และเพศไม่มีความสัมพันธ์ในทุกประเด็นเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชัน/เว็บไซต์/บริการออนไลน์ โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการ/ความคาดหวัง เกี่ยวกับการทำธุรกรรมออนไลน์มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความปลอดภัยของข้อมูล โปรโมชันและสิทธิประโยชน์ที่ดึงดูดใจ ขั้นตอนง่ายเข้าถึงได้สะดวก
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กรมการปกครอง. (2562). จำนวนประชากรปี พ.ศ.2562. ค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563, จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php.
แก้วขวัญ ผดุงพิพัฒน์บวร. (2559). ปัจจัยที่ผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์มือถือของธนาคารกรุงไทย (KTB Netbank). การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิรพร ศรีพลาวัฒน์. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและใช้บริการโมบายแบงค์กิ้ง. การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐกานต์ เพชรบุรีกุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ของข้าราชการเปรียบเทียบกับพนักงานเอกชนในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
วรรณพร หวลมานพ. (2558). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้แอพพลิเคชั่นเคโมบายแบงก์กิ้งพลัสของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามกิจกรรมการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต พ.ศ.2561. ค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562, จาก https://www.twfdigital.com/blog/2019/03/thailand-internet-user-profile-2018/.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). ผลสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนพ.ศ.2561. ค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2562, จาก www.nso.go.th.
สุรีย์พร เหมืองหลิ่ง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการทางการเงินผ่าน Mobile Banking Application ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
เสาวณิต อุดมเวชสกุล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการ M-Banking Application ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing management. 12th ed. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.