พฤติกรรมและมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยแบบซิปไลน์ในจังหวัดภูเก็ต
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยแบบซิปไลน์ 2) มุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยแบบซิปไลน์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยแบบซิปไลน์ในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวชาวไทย 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยแบบซิปไลน์ในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวชาวไทย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เป็นไคแสควร์ สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยแบบซิปไลน์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่ เข้าร่วมกิจกรรม 1-2 ครั้ง เลือกใช้สื่ออินเทอร์เน็ต เดินทางกับครอบครัว/คนรัก มีระยะเวลาท่องเที่ยว 1-2 วัน มีงบประมาณ 1,001–2,000 บาท เดินทางโดยรถส่วนตัว มีความเห็นว่าควรเน้นกิจกรรมสร้างความเพลิดเพลิน พักผ่อนหย่อนใจ 2) มุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยแบบซิปไลน์ มีความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยแบบซิปไลน์ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านมูลเหตุจูงใจ ด้านการรับรู้ข่าวสาร และด้านความคาดหวังก่อนที่จะทำการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยแบบซิปไลน์ ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยแบบซิปไลน์ในจังหวัดภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน และ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกันมีมุมมองต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยแบบซิปไลน์ในจังหวัดภูเก็ต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2563. ค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563, จาก www.mots.go.th.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). โครงการศึกษาสถานการณ์และโอกาสการส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวกลุ่ม Eco & Adventure. ค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563, จากhttp://www.etatjournal.com.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2554). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรุงเทพ: ทวิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น.
ชัยนันต์ ไชยเสน และ อารีย์ฏา ถิรสัตยาพิทักษ์. (2562). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัย: การรับรู้มาตรฐานผู้ประกอบกิจกรรมล่องแก่ง บ้านสองแพรก จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ Journal of International and Thai Tourism, 15(1): 22-46.
ชุติกานต์ ยินดีสุข. (2559). ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรสแอนด์ดีไซน์.
พรทิพย์ รุ่งเรือง และ ชวลีย์ ณ ถลาง. (2563). การจัดการเพื่อพัฒนาความต้องการของนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจในการท่องเที่ยวผจญภัยเชิงกีฬา จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 8(2): 55–62.
วรากร คำปลิว บังอร ฉัตรรุ่งเรือง และ ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวแบบผจญภัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 12: 139-148.
เศรษฐวิฐฬ์ คงกะพันธ์. (2557). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยเพื่อการท่องเที่ยวและการบริการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Weaver, D. (2001). Ecotourism. Milton. John Wiley & Sons Australia.