ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ปัจจัยพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิจัยแบบการสำรวจผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลทางแบบสอบถามจำนวน 405 ตัวอย่างจากผู้ที่เคยซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจค้าส่งค้าปลีก จำนวน 8 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ไคสแควร์ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ สถานภาพสมรส และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ปัจจัยพฤติกรรมการซื้อสินค้า ด้านความถี่ในการซื้อสินค้า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง เหตุผลที่เลือกซื้อสินค้า ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อและจำนวนสมาชิกในครอบครัว มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด และบุคคล มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติอําพล สุดประเสริฐ และ ศรายุทธ ขวัญเมือง. (2561). การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการขายสินค้าออนไลน์ ในตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ธิดารัตน์ อนันตเสรีวิทยา. (2561). พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชห่วย) ในตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิติกิตติ์ กรุงแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในเขตภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
ปฏิกร ทิพย์เลอเลิศ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิมพิกา ศรีจุมปา และ สุธีรา อะทะวงษา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกชุมชนของผู้บริโภคในเขตเทศบาลตำบลท่าสาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสาร WMS Journal of Management, 6(2): 64-71.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน. (2562). รายงานการวิเคราะห์ประเด็นร้อนเศรษฐกิจฐานราก เรื่อง จาก “โชห่วย” สู่ “ร้านค้ารายย่อยแห่งอนาคต”.ค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564, จาก https://www.gsbresearch.or.th/gsb/economics/4629/
สมพล ทุ่งหว้า. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด(7Ps)ของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย). การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 41 และนานาชาติครั้งที่ 5: 143-156.
สุชาดา สุขพงษ์ไทย. (2559). แนวทางการบริหารร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) หลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Clark, J. B., & Wheeler, S. J. (1992). A view of the phenomenon of caring in nursing practice. Journal of Advance Nursing, 17: 1283-1290.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Colaizzi P. (1978). Psychological research as the Phenomenologist views it. In Existential–Phenomenological Alternatives for Psychology. Valle R. & King M. eds. London: Oxford University Press.