ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเครียดในที่ทำงานของข้าราชการเรือนจำกลางบางขวาง

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

กิตติชัย ชัยรัตน์
โกวิทย์ กังสนันท์

摘要

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเครียดในที่ทำงานของข้าราชการเรือนจำกลางบางขวาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการเรือนจำกลางบางขวาง จำนวน 178 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของการศึกษานี้ครอบคลุม ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)


ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวมปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเครียดในที่ทำงานของข้าราชการเรือนจำกลางบางขวาง อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านซึ่งประกอบด้วย ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านนโยบายการบริหารงาน ด้านลักษณะด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน และด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน พบว่าค่าเฉลี่ยรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลความเครียดในการทำงานของข้าราชการเรือนจำกลางบางขวาง จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลความเครียดในการทำงานของข้าราชการเรือนจำกลางบางขวาง ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง อัตราเงินเดือนปัจจุบัน และระยะเวลาการปฎิบัติงาน มีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
栏目
Articles

参考

กฤติน ชลิตาภรณ์. (2558). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียด และแรงจูงใจการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษาพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กาญจนี บอลสิทธิ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการปฏิบัติงานกับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของหัวหน้าสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัด อุดรธานี จังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. ค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564, จาก http://uc.thailis.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b01777196

เจษฎา คูงามมาก. (2555). ความเครียดในการทำงานของอาจารยมหาวิทยาลัยรัฐ. วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกตสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เทพนิรมิต.

ฐาปนี วังกานนท์. (2556). ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท แอมพาส อินดัสตรี จำกัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ (2561) ปัจจัยพยากรณ์ความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลในจังหวัดพิษณุโลก. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

ประคอง สุคนธจิตต์. (2552). ทรัพยากรมนุษย์ ยุค 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ, 7: 18-28.

มนทกานติ์ งามสง่า. (2546). ลักษณะและความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการท างานกับเชาวน์อารมณ์ของพนักงานธนาคารออมสินภาค 1 เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เรือนจำกลางบางขวาง. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี 2564. ค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.correct.go.th/copbank/page_15.htm

วชิระ เพ็ชรราม. (2559). ความเครียดของพนักงานและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของพนักงาน กรณีศึกษาฐานผลิตแก๊สธรรมชาตินอกชายฝั่ง อ่าวไทย. สาขาการจัดการอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อนันท์ พะละหงส์ และ ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2558). ความเครียดในการทำงานของพนักงานเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 5(9).

Cooper, C. L., Cartwright, S., & Early, C. (2001). The International Handbook of Organizational Culture and Climate. Chichester, UK: John Wiley & Sons.

Cooper, C.L., & J. Marshall. (1976). Occupational source of stress. Journal of Occupational Psychology, 5(495): 11-28.

Lazarus, R.S.and Folkman. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York: Springer.

Robbins SP, Judge TA. (2013).Organizational behavior. 15th ed. Upper Saddle River, N.J.: Pearson/Prentice Hall.