ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สริญณพัชร์ ธรรมบุศย์
ชญาพิมพ์ อุสาโห
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ โรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ที่มีการเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา รวม 105 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ที่มีการเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 84 โรงเรียน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูหัวหน้าระดับ ครูประจำชั้น และประธานสภานักเรียน จำนวน 336 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.984 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม จำแนกตามการบริหารวิชาการ พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การวัดและประเมินผล (PNImodified=0.271) รองลงมา คือ การพัฒนาสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ (PNImodified=0.261) การจัดการเรียนการสอน (PNImodified=0.244) และการพัฒนาหลักสูตร (PNImodified=0.232) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ สมรรถนะทางมนุษย์ หรือทักษะมนุษย์ (PNImodified=0.260) รองลงมา คือ สมรรถนะแห่งตน หรือทักษะตนเอง (PNImodified=0.254) และสมรรถนะทางเทคนิค หรือทักษะการทำงาน (PNImodified=0.245) ตามลำดับ

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Articles

参考

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). กฎกระทรวง: กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550. ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 124 ตอนที่ 24 ก (16 พฤษภาคม 2550), หน้า 29. ค้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.moe.go.th/กฎกระทรวง/.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กันย์ธนัญ สุชิน. (2557). การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำเด็กและเยาวชนในชุมชน เทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 6(5): 76-93.

กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). ภาวะผู้นำ สร้างได้ในวัยเยาว์. ค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.kriengsak.com/node/548.

โชติกา ใจทิพย์ และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2561). ศักยภาพของผู้นำองค์กรธุรกิจในสถานการณ์โลกที่มีความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือ. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1): 1-14.

พรพรรณ ธรรมธาดา. (2559). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชัย เสงี่ยมจิตต์. (2542). การบริหารงานเฉพาะด้านในสถาบันการศึกษา. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

พูนภัทรา พูลผล. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ความเป็นพลเมืองโลก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์ และ กฤษณา วรรณกลาง. (2563). นวโกวาทกับการเป็นเครื่องมือในการใช้ชีวิตของคนในยุคสังคมพลิกผัน. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 3(1): 91-112.

วิลาวัลย์ พงษ์สุนทร และธันยธรณ์ สุขพานิช. (2557). ภาวะผู้นำด้านสุขภาพแบบองค์รวมของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 13(3): 128-134.

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). เอกสาร “โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่าย Associated Schools Project Network เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ”. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560- 2579. กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิค.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2552). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

Benson, L. (1991). A Youth Leadership Training Case Study. Ph.D. Dissertation. Ottawa: University of Alberta.

Best, K. Candis (2011). Holistic Leadership: A Model for Leader-Member Engagement and Development. The Journal of Values-Based Leadership, Valparaiso University, 4(1): 1-19.

Brauckmann, S. (2011). A Validation Study of the Leadership Styles of a Holistic Leadership Theoretical Framework. International Journal of Educational Management, Open University of Cyprus, 25(1): 11-32.

Clerkin, C., & Ruderman, M.N. (2016). “Holistic Leader Development: A Tool for Enhancing Leader Well-Being”. In W. A. Gentry & C. Clerkin (Eds.), the Role of Leadership in Occupational Stress (Research in Occupational Stress and Well Being), 14: 161–186. Bingley: Emerald Group Publishing Limited.

Consulus. (2019). HERO Leadership Competency Model [White Paper]. Copyright by Consulus PTE. LTD.

Dhiman, S. (2017). Holistic Leadership: A New Paradigm for Today’s Leaders. Springer: Palgrave Macmillan US.

Funk, J. (2016). Holistic Leadership Competency Model for Healthcare [White Paper]. Copyright by J L Funk & Associates.

Larcher, B. (2011). Holistic Leadership. Horizons: The Journal of the College Theology Society, Villanova University. 53: 11-13. London: Cambridge University Press.

Orlov, J. (2003). The Holistic Leader: A Developmental Systemic Approach to Leadership. The Los Angeles Chapter of the American Society for Training and Development. Los Angeles: California.

Quatro, S., & Waldman, D., & Galvin, B. (2007). Developing Holistic Leaders: Four Domains for Leadership Development and Practice. Human Resource Management Review, 17: 427–441.

Taggart, J. (2011). Becoming a Holistic Leader: Strategies for Successful Leadership Using a Principle-Based Approach. Second Edition. Ottawa: Canada.

Taliaferro, Donna. (2014). Holistic Leadership. Journal of Holistic Nursing, American Holistic Nurses Association, 32(4): 248-249.

Thaker, S. (2018). Holistic Leadership Development: An Integration of HRD Practices and Gurukul Learnings. Gujarat: Parul University.

Tuyishime, G. A. and Rosa, W. (2017). The Holistic Leadership Model and the Nurse Unit Manager: Assessing Requisite Leadership Competencies in the Rwandan Context. Rwanda Journal Series F: Medicine and Health Sciences, 4(1): 17-21.

UNESCO. (2012). UNESCO Associated Schools Network. Retrieved November 9, 2020, from https://aspnet.unesco.org/en-us/Pages/Membership.aspx.

UNESCO. (2015). Global Citizenship Education: Topics and Learning Objectives. France: UNESCO.