ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1

Main Article Content

รณยุทธ สังสุทธิ์
สมถวิล วิจิตรวรรณา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) ศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 215 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient)


ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยการบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านภาระงาน ด้านคน ด้านเทคโนโลยี และด้านโครงสร้าง 2) ระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับการปฏิบัติมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือ การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากผลการประเมินตนเอง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกและระดับความสัมพันธ์ปานกลาง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .581 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
สังสุทธิ์ ร., & วิจิตรวรรณา ส. (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(2), 345–362. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/262994
บท
บทความวิจัย

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพาเนรมิตการพิมพ์.

เทวัน เงาะเศษ . (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 13(2): 276-292.

นฏกร ปั้นพุ่มโพธิ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วารสารวิจัยทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1): 81.

ประเทืองทิพย์ สุกุมลจันทร์. (2557). การพัฒนาตัวแบบประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษาวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปรีชา คัมภีร์ปกรณ์. (2544). ปริทัศน์การบริหารการศึกษา. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิธาน พื้นทอง. (2548). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปรัชญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภณัฐพงศ์ พลมุข. (2561). สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. วารสาร มจร.พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(3): 363-376.

มาลัย วงศ์ฤทัยวัฒนา. (2562). แนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วารสารวิจัยและพัฒนวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1): 22-30.

วาลิช ลีทา.(2559). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

วาสนา บูระพา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดาเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใชสถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

สรคุปต์ บุญเกษม. (2560). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาองค์การ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. (2563). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. (2559). การประกันคุณภาพการศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. (2563). สารสนเทศแสดงจำนวนนักเรียนแผนที่โรงเรียน. ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563, จาก https://eoffice.sesao1.go.th/info/maps/student

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2550). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอก. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทองจำกัด.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก (Automated QA). ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563, จาก facebook.com/onesqa/photos/ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก-automated-qaการประเมินจาก-paper-based-eq/1665778680100419/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 .ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อัครนัย ขวัญอยู่. (2558). รายงานทีดีอาร์ไอ แนวทางการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก. ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563, จาก https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2015/07/TDRI-Report-march-web-preview.pdf

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

Owens, Robert G. (1998). Organizational Behavior in Education. Boston: Allyn and Bacon.