แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

เธียรขวัญญ์ ทรัพย์ธนมั่น
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ 0.98 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที t-test independent และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One-“ay ANOVA) ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD


ผลการวิจัย พบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู อยู่ในระดับมาก โดยองค์ประกอบของปัจจัยจูงใจ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสำเร็จของงาน รองลงมา คือ ด้านลักษณะงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน และด้านการยอมรับนับถือ ตามลำดับ และ องค์ประกอบของปัจจัยค้ำจุน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน รองลงมา คือ ด้านนโยบายการบริหารงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน และด้านค่าตอบแทน ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู พบว่าครูที่มีเพศต่างกัน ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์การทำงานที่ต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Articles

参考

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). กองทุนสงเคราะห์. ค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564, จาก https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/

กิตติยา โพธิสาเกตุ และ ธัชชัย จิตรนันท์. (2561). การพัฒนาแนวทางการจัดภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอัครสังฆมณฑลท่าแร่ หนองแส. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(2) พฤษภาคม-สิงหาคม 2561: 54-62.

จีราภรณ์ พรมสวัสดิ์. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาคลองใหญ่เหนือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชูเกียรติ ยิ้มพวง. (2554). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานกรณีศึกษาบริษัทบางกอกกล๊าส จำกัด. โรงงานจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฐานะรัตน์ จีนรัตน์. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประเสริฐ ฉัตรชัยศักดิ์. (2556). การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักราชเลขาธิการ: ศึกษากรณีแรงจูงใจ. หลักสูตรนักบริหารการทูต สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์โรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2562). คมความคิดการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพร สุทัศนีย์. (2553). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. ค้นเมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2563, จาก https://www.ubu.ac.th

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. บทบาทของโรงเรียนเอกชน. ค้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563, จาก https://sites.google.com/site/prachasampan56/bthbath-khxng-rongreiyn-xekchn

โสภิณ ม่วงทอง ภารดี อนันต์นาวี และ สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญในภาคตะวันออก. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1) ตุลาคม 2555-มีนาคม 2556: 18-29.

อนันต์ธนา สามพุ่มพวง. (2558). แรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Ahmed Thawabieh, Razan Al-Hadidi, and David Balwanz. (2011). Evaluation of professional development of Management Information System teachers in Jordan. Educational Research, 2(10) October 2011: 1569-1588.

Certo. (2000). Modern Management, 9th ed. Samuel C Certo, Arizona State University, Rollins Cillege, Texas A&M University.

Masood, Faiza, Rubab, Iram & Ahmad, Ishtiaq. (2019). The Impact of School Environment on Performance of Private and Public Sector Schools at Secondary Level in Punjab. Journal of Social Sciences, December 2019, 4(2): 197-206.

Rathmann, Rodney L. (1999). Factors related of Job Satisfaction among Teachers in Lutheran School. Dissertation Abstracts International.