การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยคริสเตียน
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยคริสเตียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีและอาจารย์ประจำ จำนวน 34 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 336 คน โดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบจับฉลาก กลุ่มตัวอย่างสำหรับทดลองใช้รูปแบบเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหา รูปแบบการดำเนินการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา แบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ แผนปฏิบัติการทดลองใช้รูปแบบ แบบประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบก่อนและหลังการทดลอง แบบประเมินผลการใช้รูปแบบด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณค่า และความพึงพอใจต่อรูปแบบ การตรวจสอบหาคุณภาพของเครื่องมือวิจัยโดยใช้การหาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติทดสอบที ผลวิจัยพบว่า สภาพปัญหาเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้าน ด้านรักสามัคคีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านอาสาช่วยเหลือ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อนำมาผลการวิเคราะห์มาออกแบบและสร้างรูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาได้รูปแบบ ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 3Hs คือประกอบไปด้วยกิจกรรม Head ด้านพุทธพิสัยพัฒนาความรู้ความเข้าใจ กิจกรรม Heart ด้านจิตพิสัยพัฒนาด้านเจตคติ และกิจกรรม Hand ด้านทักษะพิสัยพัฒนาด้านการประพฤติปฏิบัติ หลังจากนั้นนำรูปแบบไปประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามแต่ละข้อกับวัตถุประสงค์ได้เท่ากับ 1.00 ทุกข้อใช้ได้ จากนั้นได้วางแผนการทดลองใช้รูปแบบเป็นไปตามแผนปฏิบัติการ และประเมินผลการใช้รูปแบบมีผลการทดลองใช้รูปแบบก่อนและหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการประเมินด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล ด้านคุณค่า และความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง ภายหลังการวิจัยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะการนำผลวิจัยไปใช้คือ ควรนำรูปแบบ 3Hs ไปใช้ในการดำเนินการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยคริสเตียน โดยปรับปรุงกิจกรรมที่เหมาะสมกับระดับชั้นปีของนักศึกษาที่ใช้กับคุณธรรมและจริยธรรมข้ออื่น ๆ ที่ต้องการพัฒนานักศึกษา
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กมลชนก รักษาวงศ์ และ วิมล หอมยิ่ง. (2560). ประสิทธิผลของโครงการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2): 205-219.
ธณัฐชา รัตนพันธ์ สรเดช ครุฑจ้อน และ มนต์ชัย เทียนทอง. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานตามหลักทักษะชีวิต 4H เพื่อให้ได้คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(ฉบับพิเศษ): 15-25.
นิติ นาชิต ชัยวิชิต เชียรชนะ และ ริรักษ์ รัชชุศานติ. (2560). การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจในสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3): 180-197.
ประภัสสร สมสถาน และ จักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2563). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตบริการของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(6): 2425-2438.
ประยูรศรี กวานปรัชชา พจมาน ชำนาญกิจ ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมด้านความมีวินัยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2): 52-60.
พระมหาประยูร ติกฺขปญฺโญ (ช่างการ) แม่ชีระเบียบ ถิรญาณี. (2559). การประเมินเสริมพลัง: มิติใหม่ของการประเมินเพื่อการพัฒนางาน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 3(2): 163-169.
พัชรี ปิยภัณฑ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ฤดีมาศ ศรีสุข. (2557). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนในฝัน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 โดยใช้แนวคิดการวัดผลเชิงดุลยภาพ (Balanced Scorecard) กรณีศึกษาโรงเรียนราชวินิตบางเขน. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Paper presented at the annual meeting of the American Educational Research Association : California. April 19 –23, 1976: Retrieved on February 3rd, 2018, from https://files.eric.ed.gov/fultlext/ED121845.pdf. 1-35.