ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

เกณิกา บริบูรณ์
ชญาพิมพ์ อุสาโห

摘要

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครูในสหวิทยาเขตราชนครินทร์ 209 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน 5 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 15 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 40 คน ครู 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า ผลลัพธ์ของการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดคือ ผลลัพธ์ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (PNIModified=0.386) มีคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ด้านการรู้จักคิดตั้งคำถามและการเปิดใจกว้าง มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNIModified=0.462) และการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดคือด้านบุคลากร (PNIModified=0.476) มีคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ด้านการเปิดใจกว้าง มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNIModified=0.486) เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อย องค์ประกอบย่อยของผลลัพธ์ที่มีลำดับความจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดคือ การรับฟังเสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ด้านการเปิดใจกว้าง มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNIModified=0.499) และองค์ประกอบย่อยของการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดคือ สภาพแวดล้อมของบุคลากรมีคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ ด้านการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNIModified=0.508)

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Articles

参考

กมลพร อ่วมเพ็ง. (2561). แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกษศิริ กมล. (2556). การวิเคราะห์การบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีความเป็นเลิศในประเทศไทยตามเกณฑ์มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ มัลคอล์ม บอลดริจ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จงรักษ์ ศรีทิพย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1): 201-215.

ชนัตตา ปุยงาม. (2558). แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล สีจาด. (2558). ผลของวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนรู้เป็นทีมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางเคมีและเจตคติต่อการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดนุชา สลีวงศ์. (2555). ผลของการเรียนด้วยกรณีศึกษาบนเว็บที่ใช้เทคนิคการตั้งคำถามและการคิดสะท้อน ที่มีต่อการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัยนา ตรงประเสริฐ. (2544). การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการตั้งคำถามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนเช้าที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยมีและไม่มีการฝึกตั้งคำถามเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนัส บุญชม. (2555). การพัฒนาระบบบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราตรี ศรีไพรวรรณ. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมัต อาบสุวรรณ์. (2539). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านการตัดสินใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: อินเตอร์-เทค พริ้นติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2559-2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล. (2563). ในวันที่เด็กไทยขาด Critical Thinking. ค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/866840.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bassham Gregory. (2011). Critical Thinking A Student’s Introduction. 4th ed. The United states of America: The McGraw-Hill Companies, Inc.

Ennis, R. H. (1992). John Mcpeck’s Teaching Critical Thinking. Educational Studies, 23 (4): 462–472.

Ennis, R. H. (1998). Is critical thinking culturally biased? Teaching Philosophy, 21(1): 15-33.

Klaus Schwab. (2019). The Global Competitiveness Report 2019. Switzerland: World Economic Forum.