พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจส่งงานประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของนายหน้าประกันวินาศภัยต่อบริษัทคุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เปรียบเทียบการตัดสินใจส่งงานประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของนายหน้าประกันวินาศภัย จำแนกตามพฤติกรรมการตัดสินใจส่งงานประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งงานประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของนายหน้าประกันวินาศภัยต่อบริษัท คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นายหน้าประกันวินาศภัยที่ส่งงานประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจให้กับบริษัท คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 417 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการส่งงานประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจด้านกลุ่มประเภทของรถยนต์ และด้านอัตราค่าเบี้ยประกันภัยที่ต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจส่งงานประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแตกต่างกัน และ 2) ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านกระบวนการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งงานประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครของนายหน้าประกันวินาศภัยต่อบริษัท คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ข้อเสนอแนะบริษัทควรให้ความสำคัญกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคโดยต้องมีอัตราเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมคุ้มค่ากับทุนประกันภัยและเงื่อนไขความคุ้มครอง และต้องปรับปรุงในเรื่องของกระบวนการทำงานให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้นเพื่อให้เกิดการบริการที่รวดเร็วและถูกต้องและต้องสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์เพื่อเป็นการสร้างการจดจำให้กับองค์กร
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กลุ่มสถิติการขนส่งกรมการขนส่งทางบก. (2563). จำนวนรถยนต์จดทะเบียนใหม่. ค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2563, จาก https://web.dlt.go.th/statistics/.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาการพิมพ์.
มินทร์ฐิตา ธนาศิริรัตนชัย. (2553). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตสะสมทรัพย์ของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วัชระ ศิริโอวัฒนะ และ ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2559). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal Silpakorn University, 9(2): 2242-2254.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2563). การประกันภัยภาคบังคับและการประกันภัยภาคสมัครใจ. ค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.oic.or.th/th/education/home.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2563). สัดส่วนเบี้ยประกันภัยตามช่องทางการขาย. ค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.oic.or.th/th/education/home.
อุบลวรรณ วิธีจงเจริญ. (2560). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์ผ่านนายหน้าประกันวินาศภัยแบบบุคคลในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins. Publishers.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In M. Fishbein (Ed.), Readings in attitude theory and measurement. New York: John Wiley.