ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ชณัฏฐา โพธิ์เผื่อนน้อย
ศิริรัตน์ โกศการิกา

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านผ่านช่องทางออนไลน์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) ศึกษาปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครที่เคยซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 400 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือซึ่งมีค่าความน่าเชื่อถือเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 21-30 ปี การศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 25,001-35,000 บาท มีความคิดเห็นกับปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก และมีการแสดงพฤติกรรมกระบวนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านผ่านช่องทางออนไลน์อยู่ในระดับบ่อยครั้ง ผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านผ่านทางช่องทางออนไลน์แตกต่างกันทุกขั้นตอน ส่วนผู้บริโภคที่มีอายุที่แตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจซื้อในขั้นตอนการค้นหาข้อมูล การประเมินผลทางเลือก และพฤติกรรมหลังการซื้อแตกต่างกัน และในส่วนของปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านผ่านทางช่องทางออนไลน์ในทุกขั้นตอน ส่วนด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อในขั้นตอนการรับรู้ปัญหา การค้นหาข้อมูล การประเมินผลทางเลือก และการตัดสินใจซื้อ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
โพธิ์เผื่อนน้อย ช., & โกศการิกา ศ. (2022). ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 8(2), 51–65. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/262968
栏目
Articles

参考

กรรณิการ์ ชัยอำนาจ และ กฤษฎา มูฮัมหมัด. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชั่น SHOPEE ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. 955-969.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติวัฒน์ จิตรวัตร. (2559). ปัจจัยการซื้อสินค้าออนไลน์และคุณภาพเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ลาซาด้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นวรัตน์ ช่วยบุญชู และคณะ. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์. Economics and Business Administration Journal Thaksin University, 11(1): 31-52.

บวรลักษณ์ เสนาะคํา. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสนิค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(31): 42-54.

รัชนีพร แก้ววิชิ. (2561). การรับรู้และการเข้าถึงผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน BTS SkyTrain. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรรณิกา จิตตินรากร. (2561). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากบริษัทขายตรงผ่านช่องทางออนไลน์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Asean Living. (2018). เฟอร์นิเจอร์มีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร. Retrieved April 22nd, 2021, from https://www.aseanliving.com/blog/decor/19-types-of-furniture.html.

BLT Bangkok. (2018). ตลาดเฟอร์นิเจอร์สดใส รับอสังหาฯโต. Retrieved on March 17th, 2021, from https://www.bltbangkok.com/news/4369/.

Liu, Y., and Yang. Y. (2018). Empirical examination of users’ adoption of the sharing economy in China using an expanded technology acceptance model. Sustainability, 10(4): 1262.

Moslehpour, M., et al. (2018). e-purchase intention of Taiwanese consumers: Sustainable mediation of perceived usefulness and perceived ease of use. Sustainability, 10(1): 234.

Simon, K. (2021). DIGITAL 2021: THAILAND. Retrieved on March 17th, 2021, from https://datareportal.com/reports/digital-2021-thailand.