สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตจตุจักร

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

นารีรัตน์ เพชรคง
ชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตจตุจักร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษาต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตจตุจักร โดยจำแนกตามสภาพส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน จำนวน 181 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ซึ่งเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสามารถประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาปรับปรุงการบริหารจัดการ รองลงมา คือ ด้านความสามารถส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา และด้านความสามารถใช้และบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม 2) ครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่สังกัดในโรงเรียนที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน มีระดับความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตจตุจักร โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า ครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีเพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ต่างกัน มีระดับความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตจตุจักร โดยรวมไม่แตกต่างกัน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
เพชรคง น., & สุวรรณสัมฤทธิ์ ช. (2022). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตจตุจักร . Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 8(1), 238–255. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/260275
栏目
Articles

参考

กมลทิพย์ ชูประเสริฐ และคณะ. (2562). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2): 12.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 ของประเทศไทย ICT2020. กรุงเทพฯ: สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับ ที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.). คุรุสภาลาดพร้าว.

ชัยยา บัวหอม. (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของบุคลากร โรงเรียนน้ำเกลี้ยงวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. ค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563, จาก http://www.thaischool1.in.th

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: แอล.ที.เพรส.

พิมล โชติธนอธิวัฒน์. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภานุวัฒน์ สิงห์หาญ. (2559). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อ สนับสนุนการบริหารจัดการและการบริการด้านการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มะห์ดี มะดือราแว. (2551). สมรรถนะครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2562). สถิติสำหรับการทำวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เจริญมั่นคงการพิมพ์.

วรรณศร จันทโสลิด. (2559). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิชิต แสงสว่าง และนวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. (2558). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเชี่ยน. มหาวิทยลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(4): 26-39.

สตรีรัตน์ ตั้งมีลาภ. (2558). การศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานเขตจตุจักร ฝ่ายการศึกษา. (2563). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตจตุจักร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา. (2552). สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร (สนศ.) ปีการศึกษา 2563. ค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563, จาก https://www.bangkok.go.th/bangkokeducation/index

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2563). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 และ(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุเหด หมัดอะดัม. (2562). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เอกอุดม จ้ายอั้น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับการจัดระบบสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

McCelland, D.C. (1985). Human Motivation. Oakland: Poresman & Company.