แนวทางการแบ่งปันครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแนวทางการแบ่งปันครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนทั้งหมดในจังหวัดสมุทรสาครจำนวน 38 โรงเรียน งานวิจัยนี้ถือว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความสัมพันธ์กับความสามารถของครูผู้สอน ดังนั้นจึงพิจารณาผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-net) เพื่อจัดกลุ่มความสามารถครูผู้สอนคณิตศาสตร์ การจัดแบ่งกลุ่มครูผู้สอนตามเกณฑ์นี้พบว่าช่วงความห่างของคะแนนเฉลี่ยเพื่อจัดแบ่งเป็นโรงเรียนผู้ให้และโรงเรียนผู้รับที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 6.00 คะแนน ถึง 12.87 คะแนน นอกจากนี้เพื่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางไปช่วยสอน จึงกำหนดให้ระยะทางที่ต้องเดินทางไม่เกิน 15 กิโลเมตร ระยะทางดังกล่าวนี้สอดคล้องกับสภาพเส้นทางและปริมาณการจราจรภายในเขตจังหวัด ผลการวิเคราะห์ตามเกณฑ์ทั้งสองดังกล่าวทำให้สามารถกำหนดโรงเรียนผู้ให้ได้ทั้งหมด 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัยดูแลโรงเรียนผู้รับ 6 โรงเรียน โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะดูแลโรงเรียนผู้รับ 7 โรงเรียน โรงเรียนวัดนางสาวดูแลโรงเรียนผู้รับ 2 โรงเรียน โรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทรคุณ” ดูแลโรงเรียนผู้รับ 1 โรงเรียน และโรงเรียนธรรมจริยาภิรมย์ดูแลโรงเรียนผู้รับ 4 โรงเรียน อนึ่งพบว่ามีการแกว่งของคะแนนผลการทดสอบของโรงเรียนจำนวนหนึ่งทำให้ไม่สามารถจัดกลุ่มตามเกณฑ์ช่วงห่างคะแนนที่กำหนด อีกทั้งยังปรากฏว่ามีโรงเรียนผู้รับที่มีระยะทางไปยังโรงเรียนผู้ให้เกิน 15 กิโลเมตร จำนวน 12 โรงเรียน จึงจำเป็นต้องจัดแบ่งกลุ่มกรณีพิเศษ จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 โรงเรียน โรงเรียนผู้ให้สำหรับกลุ่มกรณีพิเศษนี้ คือ โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย และโรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ การแบ่งกลุ่มกรณีพิเศษนี้มีความเหมาะสมเนื่องจากสภาพเส้นทางและปริมาณการจราจรไม่ก่อให้เกิดปัญหาทั้งในด้านค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเดินทาง
Article Details
References
ปภาวดี ทามนตรี. (2562). บทบาทความเป็นครูกับการสร้างแรงบันดาลใจในห้องเรียนเด็กประถม. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2): 176.
ปภาวดี ตั้งดวงดี. (2559). คุณลักษณะของครูกับประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนกรณีศึกษา โรงเรียนประถมส่วนขยายแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รุ่งอรุณ ลียะวณิชย์. (2560). ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย: การประยุกต์ทฤษฎียอมรับคุณสมบัติ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(3): 239.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: 12-16.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ (2562). สารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร ประจำปีศึกษา 2562: 25.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. GIS แผนที่โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. ค้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563, จากhttps://data.boppobec.info/emis/gis_all.php?Area_CODE=7401
สุมิตร สุวรรณ และคณะ. (2560). การสร้างเครือข่ายความร่วมมือพหุภาคีเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดนครปฐม. วารสารครุศาสตร์, 45(1): 293.
Egea-Kuehne, D. (2008). Levinas and education. New York: Routledge.
Hoogendijk, K., Holland, J.G., Tick, N.T. et al. (2019). Effect of Key2Teach on Dutch teachers’ relationships with students with externalizing problem behavior: a randomized controlled trial. Eur J Psychol Educ, 35: 111–135.
Joldersma, C. W. (2008). The importance of enjoyment and inspiration for learning from a teacher. In D. Egea-Kuehne (Ed.) Levinas and Education At the Intersection of Faith and Reason: 55-67. London: Routledge.