ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตหนองแขม ตามแนวความคิดการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตหนองแขม ตามแนวความคิดการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ ประชากร คือ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตหนองแขม จำนวน 6 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตหนองแขม ทั้งหมด 6 โรงเรียน จำนวน 207 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการ จำนวน 10 คน และข้าราชการครู จำนวน 196 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified)
ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวความคิดการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ มีลำดับความต้องการจำเป็นจากสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด คือ ด้านที่ 2 การนำแผนสู่การปฏิบัติ (PNIModified=0.435) มีองค์ประกอบที่มีค่าความต้องการจำเป็นที่สูงสุดและต่ำสุด คือ องค์ประกอบที่ 2 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (PNIModified=0.490) และองค์ประกอบที่ 4 การสร้างเครือข่ายทางสังคม (PNIModified=0.391) ด้านที่ 3 การประเมินผล (PNIModified=0.425) มีองค์ประกอบที่มีค่าความต้องการจำเป็นที่สูงสุดและต่ำสุด คือ องค์ประกอบที่ 2 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (PNIModified=0.490) และองค์ประกอบที่ 4 การสร้างเครือข่ายทางสังคม (PNIModified=0.375) ด้านที่ 1 การวางแผน (PNIModified=0.375) มีองค์ประกอบที่มีค่าความต้องการจำเป็นที่สูงสุดและต่ำสุด คือ องค์ประกอบที่ 2 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (PNIModified=0.413) และองค์ประกอบที่ 3 การให้สมาชิกมีส่วนร่วม (PNIModified=0.347)
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545). TQM กลยุทธ์การสร้างองค์การคุณภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2556). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2539). การปรับปรุงกระบวนงานอย่างต่อเนื่อง:กลยุทธ์ในการเพิ่มคุณภาพบริการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สมบูรณ์ พรรณาภพ. (2521). หลักเบื้องต้นของการบริหารโรงเรียน (Introduction to School Administration). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2562). รายงานการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ปี 2562. กรุงเทพฯ: บริษัท สยาม วี อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2562). แผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563. กรุงเทพมหานคร.
สุภาวรรณ โชติผล. (2547). การศึกษาการบริหารงานโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Murgatroyd, S. and C. Morgan. (1993). Total Quality Management and the School. Buckingham: Open University.
Newby, T. J., Stepich, D. A., Lehman, J. D., & Russell, J. D. (2000). Educational Technology for Teaching and Learning. (2nd ed.) Upper Saddle River, NJ: Merrill/Prentice-Hall.
Shiba, S., A. Graham, and D. Walden. (1993). A New American TQM: Four Practical Revolutions in Management. Portland, Oregon: Productivity Press.
Tenner, A.R. and I.J. Detoro. (1992). Total Quality Management: There Step to Continuous Improvement. Massachusetts: Addison-Wesley.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.