การพัฒนาประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ (อพม.) จังหวัดชุมพร

Main Article Content

นันทวัฒน์ ช่วยชูหนู
ปิยากร หวังมหาพร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จังหวัดชุมพร การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จังหวัดชุมพร จำนวน 303 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณเชิงเส้นตรง การวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรผู้มีบทบาทโดยตรงในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จังหวัดชุมพร 15 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการประชุมกลุ่ม และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จังหวัดชุมพร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน เรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้ ด้านการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ( =3.86) ด้านการพัฒนาสังคม ( =3.74) และด้านการจัดสวัสดิการชุมชน ( =3.63) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ (อพม.) จังหวัดชุมพรโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 4 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยจิตสาธารณะ (X3, β=.312) ปัจจัยเครื่องมือการปฏิบัติงาน (X5, β=.289) ปัจจัยความร่วมมือ (X7, β=.220) และปัจจัยสวัสดิการ (X6, β=.103) โดยมีสมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ รวม =.312Z3+.289Z5+.103Z6+.220Z7 และแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ จังหวัดชุมพร ประกอบด้วยแนวทางในการพัฒนาความสัมฤทธิ์ผลในการดำเนินงานในด้านบุคลากร ด้านการสร้างเครือข่ายการทำงาน ด้านสวัสดิการ และด้านการบริหารงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). ยุทธศาสตร์การวิจัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กองกิจการอาสาสมัครและภาคประชาสังคม. (2561). คู่มือการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.). กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556- 2561). กรุงเทพฯ: วิชัน พรินท์ติ้ง.

จุไรรัตน์ พละเลิศ. (2555). แนวทางการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐจารีย์ จินดาวงศ์ และ ปภาวดี มนตรีวัต. (2558). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 13(2): 139-150.

นงนุช จิตตะเสโณ และ อุทัย ปริญญาสุทธินนท์. (2560). อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลากับการพัฒนาชุมชน. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(6): 125-133.

ระพีพรรณ คําหอม และ รณรงค์ จันใด. (2561). สัดส่วนอาสาสมัครพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ที่เหมาะสมตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 14(1): 90-107.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชุมพร. (2562). วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ และหน้าที่ความรับผิดชอบ และโครงสร้างการบริหารของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชุมพร พ.ศ. 2562. ชุมพร: พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชุมพร.

สิริวัฒน์ สิริอมรพรรณ. (2556). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Harper & Row.

Robbins, S. (1998). Organization behavior. New Jersey: Prentice-Hall.

Tashakkori, A. and Teddlie, C. (2008). Quality inferences in mixed methods research, Advances in mixed methods research: Theories and applications. London: Sage Publications.

Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. New York: Harper & Row.