ประสิทธิผลของการใช้นโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบด้านการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้คำสั่ง คสช. มาตรา 44
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้นโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบด้านการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้คำสั่ง คสช. มาตรา 44 ผู้ให้ข้อมูล คือ ตัวแทนสำนักงาน ป.ป.ช. หน่วยงานส่วนกลาง และผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 24 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์และตีความเพื่อสร้างข้อสรุปเนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า สภาพการณ์และสาเหตุในการใช้คำสั่งภายใต้ คสช. มาตรา 44 เกิดจากการทุจริตในการบริหารงานบุคคลของ อปท. เพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจเต็มในการออกคำสั่งการบรรจุ แต่งตั้ง การย้าย การโอนการรับโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขึ้นเงินเดือน ซึ่งเป็นช่องว่างก่อให้เกิดการทุจริตของผู้มีอำนาจ เกิดความเสียหายต่อระบบการบริหารงานบุคคลของ อปท. อย่างร้ายแรง รัฐบาลในขณะนั้นจำเป็นต้องออกคำสั่งภายใต้ คสช. มาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาการทุจริตในการบริหารงานบุคคลของ อปท. อย่างเร่งด่วน ผลของนโยบายเชิงบวก คือ 1) สามารถแก้ปัญหาการทุจริตได้อย่างรวดเร็ว 2) ผู้มีส่วนได้เสียที่ต้องการความช่วยเหลือได้รับความพึงพอใจ 3) ได้บุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่ง 4) การบริหารงานบุคคลเป็นไปตามหลักคุณธรรม และ 5) สังคมยอมรับถึงความโปร่งใสในการสรรหาบุคลากรของ อปท. มากขึ้น ผลเชิงลบ คือ 1) การดำเนินการเร่งด่วนอาจจะเกิดความผิดพลาดในการหาตัวผู้กระทำความผิด 2) เกิดการเสียขวัญและเสียกำลังใจในการปฏิบัติงาน 3) อปท. ขาดแคลนบุคลากรบางตำแหน่งงานบางช่วงเวลา และ 4) กลไกการปฏิบัติงานตามปกติในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอาจมีความหย่อนประสิทธิภาพในอนาคต เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติงานในระบบการปฏิบัติงานตามปกติเป็นเวลานาน
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2561). คู่มือในการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานป้องกันการทุจริตภาคการเมือง สำนักงาน ป.ป.ช..
สุรพงษ์ แสงเรณู. (2559). ผลกระทบการทุจริตประพฤติมิชอบในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ธรรมทรรศน์, 16(2) กรกฎาคม-ตุลาคม 2559: 45-58.
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์. (2560). สอบตกปราบทุจริต แผลใหญ่ ‘คสช.’ ค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563, จาก https://www.posttoday.com/politic/analysis/477909
Banfield, Edward C. (1975). Corruption as a Feature of Governmental Organization. Cambridge: Harvard University.
Meny, Y. Fin De Siecle. (1996). Corruption: Change, Crisis and Shifting Values. International Social Sciences Journal (September 1996): 309-320.